ค้นเจอ 71 รายการ

เรือกราบ

หมายถึงน. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลมและเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลอง เรือแซง หรือเรือกันได้.

แทรก

หมายถึง[แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือสอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดำ แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปในระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.

แนม

หมายถึงก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง. (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ. (อิเหนา); แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้แนมทังสองข้าง. (สามดวง); แทรกเพิ่มเติม, ควบคู่กันไป, เช่น นํ้าพริกมีปลาดุกแนม; เสียดสี ในคำว่า เหน็บแนม.

ยุ่มย่าม

หมายถึงว. ยุ่ง, เกะกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย, เช่น หนวดเครายุ่มย่าม; อาการที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบเข้าไปยุ่มย่ามในเรื่องของคนอื่น, อาการที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หวงห้ามหรือในที่ที่ตนไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น ห้ามเข้าไปยุ่มย่ามในเขตหวงห้าม เขาชอบเข้าไปยุ่มย่ามในสถานที่ราชการ.

มองคร่อ

หมายถึง[-คฺร่อ] น. โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง ห้ามผู้ที่เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ. (อ. bronchiectasis); โรคทางเดินหายใจในสัตว์กีบเดียววงศ์ Equidae มีอาการไข้สูง เป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลืองใต้คางและบริเวณคอหอย อาจติดต่อถึงคนได้, เขียนเป็น มงคล่อ ก็มี. (อ. strangles).

ผ่าน

หมายถึงก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่านไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูงเกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลาผ่านไป. ว. เรียกม้าที่มีลายขาวขวางพาดตัวว่า ม้าผ่าน; ถ้าประกอบหน้านามบางคำหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า.

หมาย

หมายถึงน. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคำสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงานสั่งให้กระทำการ หรือห้ามกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกำหนด เช่น หมายหัวกระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.

เอย,เอย,เอ่ย,เอ่ย

หมายถึงคำกล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้ายคำกลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).

ลูกหลง

หมายถึงน. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้างอยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่นซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับเคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มีเจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไปหมอบกับพื้นเวที.

อาบัติ

หมายถึงน. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).

บุกรุก

หมายถึงก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขตพระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจหรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดยยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ