ค้นเจอ 74 รายการ

วอน

หมายถึง(ปาก) ก. รนหาที่ เช่น วอนตาย; (วรรณ) ร่ำขอ, ขอด้วยอาการออด, เฝ้าร้องขอให้ทำตามประสงค์, เช่น คำนึงนุชนาฎเนื้อ นวลสมร แม้นแม่มาจักวอน พี่ชี้. (ตะเลงพ่าย).

สะพาน

หมายถึงน. สิ่งปลูกสร้างที่ทำสำหรับข้ามแม่นํ้าลำคลอง เป็นต้น บางทีทำยื่นลงในนํ้าสำหรับขึ้นลง, ไม้ที่ทอดระหว่างหัวเสาสำหรับรับคอสองของอาคารที่เป็นตึกโบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สื่อเชื่อมโยง เช่น ตีสนิทกับน้องชายเพื่อเป็นสะพานไปรู้จักกับพี่สาว, ตะพาน ก็ว่า.

สดับ

หมายถึง[สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).

ภาร,ภาร-,ภาระ,ภาระ

หมายถึง[พาน, พาระ-] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการอบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).

กระเวนกระวน

หมายถึง(กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).

จาว

หมายถึงน. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล, (กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว จักรพรรดิ พี่เอย. (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์. (ทวาทศมาส).

กะ

หมายถึงว. ใช้รวมกับคำวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นำหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่น พี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคำว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคำว่า แก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคำเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).

หาก

หมายถึงก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น “อันไตรโลกย์หากบูชา” = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).

เอา

หมายถึงก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นำ, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทำเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสำคัญ เช่น เจรจาเอาถ้อยคำ เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คำใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคำได้. ว. เมื่อใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทำต่อเนื่องกัน เช่น กินเอา ๆ.

ลูกหลง

หมายถึงน. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้างอยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่นซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับเคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มีเจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไปหมอบกับพื้นเวที.

หลวง

หมายถึงว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คำเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.

น้อง

หมายถึงน. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดทีหลัง, ลูกของอาหรือของน้า, เรียกคนที่มีอายุคราวน้อง เช่น น้องแดง น้องเขียว; ออกทีหลัง, มาทีหลัง, เช่น หมากทะลายน้อง มะพร้าวทะลายน้อง, คู่กับ ทะลายพี่; ลักษณนามใช้นับอายุไม้จำพวกไม้ไผ่ เช่น ไม้น้องเดียว คือ ไม้ที่มีอายุ ๒ ปี ไม้ ๒ น้อง คือ ไม้ที่มีอายุ ๓ ปี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ