ค้นเจอ 2,180 รายการ

คำกร่อน

หมายถึง(ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.

คำมูล

หมายถึงน. คำคำเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคำอื่น เช่น ยาม แขก นาฬิกา.

คำโท

หมายถึง(ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่าคำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.

คำพ้องความ

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า

ฉีกคำ

หมายถึงก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์.

ส่งสัมผัส

หมายถึงก. เรียกคำสุดท้ายของวรรคหน้าแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไปว่า คำส่งสัมผัส.

อนุรักษ,อนุรักษ-,อนุรักษ์

หมายถึง[อะนุรักสะ-, อะนุรัก] ก. รักษาให้คงเดิม. (ส.).

แปร

หมายถึง[แปฺร] ก. เปลี่ยนกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม.

แตกร้าว

หมายถึงก. บาดหมางหรือผิดใจกันจนติดต่อคบหากันอย่างเดิมไม่ได้.

ทำสาว

หมายถึงก. ตบแต่งช่องคลอดให้เหมือนสภาพเดิม.

สธุสะ,สาธุสะ

หมายถึงคำเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคำอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียวกับคำ ศุภมัสดุ.

โอวาท

หมายถึง[-วาด] น. คำแนะนำ, คำตักเตือน, คำกล่าวสอน. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ