ค้นเจอ 105 รายการ

ภิกษาหาร

หมายถึงน. อาหารที่ได้มาด้วยการขอ. (ส.; ป. ภิกฺขาหาร).

ภุกตาหาร

หมายถึงน. อาหารที่กินแล้ว; ผู้กินอาหารแล้ว. (ส.; ป. ภุตฺตาหาร).

กตาภินิหาร

หมายถึง[กะตาพินิหาน] (แบบ) น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทำไว้. ว. มีอภินิหารที่ทำไว้. (ป. กต ว่า อันเขาทำแล้ว + อภินิหาร).

กฤษฎา,กฤษฎา,กฤษฎาภินิหาร

หมายถึง[กฺริดสะ-] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาภินิหาร เช่น เชิญชมชื่นกฤษฎา. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).

กัปปิยโวหาร

หมายถึงน. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตรา ว่า กัปปิยภัณฑ์, ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.

ตัวหารร่วมมาก

หมายถึงน. จำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนำไปหารจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหารร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.

ถนอมอาหาร

หมายถึงก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.

ทหารกองประจำการ

หมายถึง(กฎ) น. ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด, (ปาก) ทหารเกณฑ์.

ทหารเกณฑ์

หมายถึง(ปาก) น. ทหารกองประจำการ.

ทหารผ่านศึก

หมายถึง(กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในราชการทหาร หรือบุคคลซึ่งทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และได้กระทำหน้าที่นั้นในการสงครามหรือในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทำการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด.

ศาลทหาร

หมายถึง(กฎ) น. ศาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลใด ๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

สมณโวหาร

หมายถึงน. ถ้อยคำที่ควรแก่สมณะ เช่น อาตมา ฉันจังหัน กัปปิยภัณฑ์. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ