ค้นเจอ 68 รายการ

ประเวณี

หมายถึงน. การเสพสังวาส, การร่วมรส, ในคำว่า ร่วมประเวณี; ประเพณี เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย). ก. ประพฤติผิดเมียผู้อื่น เรียกว่า ล่วงประเวณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).

อสรพิษ

หมายถึง[อะสอระ-] น. สัตว์มีพิษในเขี้ยว มักหมายถึง งูพิษ, โดยปริยายหมายถึงคนที่ลอบทำร้ายหรือให้ร้ายผู้มีคุณหรือผู้อื่นด้วยความอิจฉาริษยาเป็นต้น. (ส. อสิร + วีษ; ป. อาสีวิส).

จ้อง

หมายถึงก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทำร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.

กาจับหลัก

หมายถึงน. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลักมีวัตถุรูปกระจับสำหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทำร้ายของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้นเสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตำราขี่ช้าง).

เสก

หมายถึงก. ร่ายมนตร์เพื่อทำให้ขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เสกน้ำล้างหน้า เสกแป้งผัดหน้า, ร่ายมนตร์เพื่อทำให้สิ่งหนึ่งกลายเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เสกหญ้าให้เป็นหุ่นพยนต์ เสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อตัวแตน, ร่ายมนตร์เพื่อให้เกิดพลังส่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปทำร้ายศัตรู เช่น เสกหนังเข้าท้อง.

กระสอบทราย

หมายถึงน. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.

กวน

หมายถึงก. คนให้เข้ากัน, คนให้เข้ากันจนข้น, เช่น กวนขนม, คนให้ทั่วกันหรือให้วนไปโดยรอบ เช่น กวนนํ้า; รบกวนทำให้เกิดความรำคาญ เช่น กวนใจ, ก่อกวนทำให้วุ่นวาย เช่น กวนบ้านกวนเมือง, ชวนให้เกิดความรำคาญ ชวนให้ทำร้าย เช่น กวนมือ กวนตีน. น. เรียกของกินที่ทำด้วยผลไม้เป็นต้น เคี่ยวกับนํ้าตาลแล้วคนให้เข้ากันจนข้น เช่น ขนมกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน.

ขวัญ

หมายถึง[ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจ เช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกำลังใจของเมือง; กำลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทำขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทำพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทำร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทำพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทำขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึงหญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กำลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ