ค้นเจอ 85 รายการ

ลุ

หมายถึงก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสำเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง; (โบ) รู้ความ เช่น ลุท้องตรา ลุหนังสือ.

เกี่ยงตาย

หมายถึงก. เลี่ยงไปทางตาย, ยอมตาย, เช่น หวั่นฤทธิ์คิดครั่นสงคราม จักยุทธพยายาม คือขวัญสกนธ์เกี่ยงตาย. (สรรพสิทธิ์).

ขิ่ง

หมายถึงก. พยายามทำสิ่งที่ยากอันตนจะต้องทำให้เสร็จ เช่น ท้าวธผู้ข้อนขิ่งทำทาน. (ม. คำหลวง ชูชก).

หมดฝีมือ

หมายถึงว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือเลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.

แรง

หมายถึง(วิทยา) น. อิทธิพลภายนอกใด ๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง.

เลียน

หมายถึงก. เอาอย่าง, ทำหรือพยายามทำให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับแบบอย่าง, เช่น พูดเลียนเสียงเด็ก ร้องเลียนเสียงนก; ชั่งโดยเอาเงินตราเป็นเกณฑ์นํ้าหนัก.

มวยปล้ำ

หมายถึงน. กีฬาต่อสู้ด้วยมือเปล่าอย่างหนึ่ง คู่ต่อสู้ต้องพยายามทำให้อีกฝ่ายล้มลงจนไหล่ด้านหลังทั้ง ๒ ข้างแตะพื้นตลอดช่วงเวลาที่กำหนดจึงจะเป็นฝ่ายชนะ.

ปล้ำ,ปล้ำปลุก

หมายถึง[ปฺลํ้า, -ปฺลุก] ก. ใช้แขนกอดรัดจับกุมเพื่อจะให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม หรือให้อยู่ในอำนาจที่จะทำได้ตามใจตน, โดยปริยายหมายความว่า พยายามทำกิจการอย่างเต็มกำลัง, ปลุกปลํ้า ก็ว่า.

ตี่

หมายถึงน. การเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น โดยขีดเส้นแบ่งเขตระหว่างผู้เล่น ๒ ฝ่าย และจำกัดเขตด้านกว้างและด้านหลังด้วย ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย จำนวนเท่า ๆ กัน คนตี่จะวิ่งออกจากเส้นแบ่งเขตโดยกลั้นใจร้องเสียง “ตี่” ตลอดเวลาที่เข้าไปอยู่ในเขตตรงข้าม พยายามใช้มือฟันฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด และพยายามวิ่งกลับเข้าเขตของตนให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องพยายามไม่ให้ถูกฟัน และหาโอกาสจับคนตี่ไว้มิให้กลับไปได้, ตี่จับ หรือ ตี่เสียง ก็เรียก. ก. วิ่งร้องตี่ไป.

กุมารา

หมายถึง(กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสนหา พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี. (ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).

เสนอหน้า

หมายถึงก. แสดงตัวให้ผู้มีอำนาจเหนือเห็นอยู่เสมอทั้ง ๆ ที่ตนเองมิได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลประโยชน์ตอบแทน, พยายามแสดงตัวให้ปรากฏต่อสาธารณชนอยู่เสมอ เช่น เวลาเขาถ่ายรูปกันจะต้องเสนอหน้าเข้าไปร่วมถ่ายรูปด้วย.

ล้มไม่ลง

หมายถึงก. อาการที่ถูกฝ่ายตรงข้ามเตะซ้ายเตะขวาเลี้ยงไว้ไม่ให้ล้ม เช่น นายแดงถูกเตะล้มไม่ลง; หักล้างหรือโค่นผู้อื่นไม่สำเร็จ, โดยปริยายหมายความว่า พยายามรักษาสถานภาพไว้ไม่ให้ซวดเซ เช่น ธนาคารล้มไม่ลง เพราะถ้าล้มประชาชนจะเดือดร้อน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ