ค้นเจอ 175 รายการ

เบรียน

หมายถึง[บะเรียน] (โบ) ก. ให้เรียน, สอน, เช่น อาจเบรียนภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย. (จารึกสยาม).

คำคู่ความ

หมายถึง(กฎ) น. บรรดาคำฟ้อง คำให้การหรือคำร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.

เวร

หมายถึงน. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่นเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).

สายลับ

หมายถึงน. ผู้เข้าไปสืบความลับ เช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับการจารกรรมของสายลับ, สาย ก็ว่า.

กรรมคติ

หมายถึง[กำมะคะติ] น. ทางดำเนินแห่งกรรม. (ส. กรฺม + ส., ป. คติ ว่า ที่ไป).

สัสต,สัสต-

หมายถึง[สัดสะตะ-] ว. เที่ยง, แน่นอน, คงที่, ถาวร. (ป. สสฺสต; ส. ศาศฺวต).

ถ้อยคำสำนวน

หมายถึง(กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.

ไตรลักษณ์

หมายถึง[-ลัก] น. ลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป ๓ ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน.

โมงโมง,โมง

หมายถึงน. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.

กำ,กำ,กำม

หมายถึง(โบ) น. กรรม เช่น ไข้เจ็บหมอตั้งกำไว้, ท่านว่าเป็นกำมของเขาเอง. (อัยการเบ็ดเสร็จ).

กงเกวียนกำเกวียน

หมายถึง(สำ) ใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกำเกวียน.

เช้า

หมายถึงน. เวลาระหว่างรุ่งสว่างกับสาย, เวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง เช่น รอบเช้า ผลัดเช้า; เร็วกว่าเวลาที่กำหนดในระหว่างรุ่งสว่างกับสาย เช่น มาแต่เช้า; โดยปริยายหมายความว่า ก่อนเวลาที่กำหนด.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ