ค้นเจอ 98 รายการ

ไหว้

หมายถึงก. ทำความเคารพโดยยกมือขึ้นประนม, ถ้าเป็นผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่หรือผู้ทรงศีลต้องก้มศีรษะลงแต่พองาม.

อนุโมทนา

หมายถึงก. ยินดีตาม, ยินดีด้วย, พลอยยินดี; เรียกคำให้ศีลให้พรของพระว่า คำอนุโมทนา. (ป., ส.).

เทอญ

หมายถึง[เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคำลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).

สามเณร

หมายถึง[สามมะเนน] น. ผู้ดำรงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล ๑๐, เรียกสั้น ๆ ว่า เณร. (ป.).

ไตรสิกขา

หมายถึงน. สิกขา ๓ คือ ศีล เรียกว่า สีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา.

จำศีล

หมายถึงก. ถือศีล, รักษาศีล; โดยปริยายหมายถึงการที่สัตว์บางชนิดนอนนิ่งไม่ออกหาอาหารชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น กบจำศีล.

สมานสังวาส

หมายถึง[สะมานะ-] น. การอยู่ร่วมเสมอกัน (ใช้แก่พระสงฆ์ที่มีศีลเสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันได้). (ป. สมานสํวาส).

สัตบุรุษ

หมายถึง[สัดบุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คนดีน่านับถือ มีคุณธรรม ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม. (ส. สตฺปุรุษ; ป. สปฺปุริส).

คู่มิตร

หมายถึง(โหร) น. ผู้ที่มีชะตาถูกกัน เป็นมิตรกัน, ผู้ที่รักใคร่กัน ไม่เป็นภัยแก่กัน ตรงข้ามกับ คู่ศัตรู.

อริยทรัพย์

หมายถึงน. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).

สังวร

หมายถึง[-วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สำรวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวรไว้ อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).

โอย

หมายถึง(โบ) ก. อวย, ให้, เช่น คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ ด้านที่ ๒).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ