ค้นเจอ 91 รายการ

อนันตริยกรรม

หมายถึง[-ตะริยะกำ] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).

สกรรมกริยา

หมายถึง[สะกำกฺริยา, สะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.

ฟ้าเคืองสันหลัง

หมายถึง(สำ) น. เคราะห์กรรมหรือโทษทัณฑ์ร้ายแรงที่เกิดจากอำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครอง เช่น ต่อฟ้าเคืองสันหลังจึงรำพัน. (ขุนช้างขุนแผน).

มานัต

หมายถึงน. วินัยกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).

มดี

หมายถึง[มะ-] คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนามในคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตเฉพาะที่มีสระ อิ อุ อยู่ท้าย หมายความว่า มี เช่น สิริมดี พันธุมดี, ตามหลักไวยากรณ์ เป็นเพศหญิง. (ป., ส. มตี).

จาร,จาร-,จาร-

หมายถึง[จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).

โมฆกรรม

หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด จะยกความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างก็ได้, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม.

บัพพาชนียกรรม

หมายถึง[บับพาชะนียะกำ] น. กรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่, พิธีขับไล่บุคคลที่พึงขับไล่. (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).

โอปปาติกะ

หมายถึง[โอปะ-] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, อุปปาติกะ ก็เรียก. (ป.).

การก

หมายถึง[กา-รก] น. ผู้ทำ. (ไว) ก. กริยาที่ทำหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).

เจษฎา

หมายถึง[เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารำ; กรรม, การทำด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทำ, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).

กรรมขัย

หมายถึง[กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตาย แลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ