ค้นเจอ 86 รายการ

ลบ

หมายถึงก. ทำให้หายไปด้วยอาการเช็ดหรือถู, ทำให้หายไป เช่น น้ำลบฝั่ง; หักออก, ชักออก, (ใช้แก่วิธีเลข). ว. ที่เป็นไปในทางร้าย ทางไม่ดี หรือทางทำลาย เช่น มองในทางลบ. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ - ว่า เครื่องหมายลบ.

อนุญาต

หมายถึงยินยอม, ยอมให้, ตกลง. (ป. อนุญฺญาต)

สลึง

หมายถึง[สะหฺลึง] น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๕ สตางค์ เท่ากับ ๑ สลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ หมายความว่า ๒ สลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม.

ฟันปลา

หมายถึงน. เรียกสิ่งที่มีรูปอย่างฟันปลา, เรียกลักษณะที่สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลาว่า สลับฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา; ลายคดกริช รูปดังนี้ (รูปภาพ) เรียก ลายฟันปลา, ลายฟันเลื่อย ก็เรียก.

จัตวา

หมายถึง[จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ๋ ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).

บาท

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท, อักษรย่อว่า บ.; เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๓ บาท; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.

โท

หมายถึงว. สอง, ชั้นที่ ๒ (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้นหรือขั้นของยศ ตำแหน่ง คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ตํ่ากว่าเอก สูงกว่าตรี) เช่น ร้อยโท ข้าราชการชั้นโท ปริญญาโท; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ้ ว่า ไม้โท. (ป. ทุ, ทฺวิ; ส. ทฺวิ).

ตำลึง

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๔ ตำลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง, ตมฺลึง).

บวก

หมายถึงก. เอาจำนวนหนึ่งรวมเข้ากับอีกจำนวนหนึ่งหรือหลายจำนวนให้เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นจำนวนเดียวกัน, เพิ่มเติมเข้าไป. ว. ที่เป็นไปในทางสนับสนุน ทางดี หรือเชิงสร้างสรรค์ เช่น มองในทางบวก; ในทางคณิตศาสตร์เรียกจำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ว่า จำนวนบวก. น. เรียกเครื่องหมายคณิตศาสตร์รูปดังนี้ + ว่า เครื่องหมายบวก.

ตาไก่

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สำหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทำเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่ เรียกว่า ตางัว.

ตรี

หมายถึง[ตฺรี] ว. สาม เช่น ตรีเนตร, ชั้นที่ ๓ (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้นหรือขั้นของยศ ตำแหน่ง คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ตํ่ากว่า โท สูงกว่า จัตวา) เช่น ร้อยตรี ข้าราชการชั้นตรี ปริญญาตรี; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ๊ ว่า ไม้ตรี. (ส. ตฺริ).

ละ

หมายถึงก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ