ค้นเจอ 4,117 รายการ

ร่มเย็น

หมายถึงว. มีความสุขสบาย, ไม่มีความเดือดร้อน.

ย้อนคำ

หมายถึงก. ว่าสวนตอบตามคำที่เขาว่ามา เช่น ฝ่ายหนึ่งพูดว่า เธอโง่จริง อีกฝ่ายหนึ่งก็ย้อนคำว่า แล้วเธอไม่โง่หรือ.

ยืนคำ

หมายถึงก. ยืนยันคำพูดที่พูดไปแล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลง.

คำกร่อน

หมายถึง(ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.

เด่

หมายถึงว. ใช้ประกอบคำกริยาบางคำเพื่อเน้นความหมายว่า ตรง เช่น ชี้เด่ ตั้งเด่.

หกคว่ำ

หมายถึงก. อาการที่ภาชนะเอียงคว่ำลง; ล้มคว่ำ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คะมำหงาย เป็น หกคว่ำคะมำหงาย ซึ่งมีความหมายคล้ายกับ ล้มคว่ำคะมำหงาย.

คำมูล

หมายถึงน. คำคำเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคำอื่น เช่น ยาม แขก นาฬิกา.

น้ำเสียง

หมายถึงน. กระแสเสียง, คำพูด; โดยปริยายหมายถึงคำพูดที่ส่อให้รู้อารมณ์ที่มีอยู่ในใจ.

การ,-การ,-การ

หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

คำโท

หมายถึง(ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่าคำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.

ฉีกคำ

หมายถึงก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์.

ส่งสัมผัส

หมายถึงก. เรียกคำสุดท้ายของวรรคหน้าแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไปว่า คำส่งสัมผัส.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ