ค้นเจอ 3,165 รายการ

ไวพจน์

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

สกรรถ

หมายถึง[สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).

นันทิ

หมายถึงน. ผู้มีความยินดี. (ส.).

หมองหมาง

หมายถึงว. ไม่ผ่องใสเพราะมีความขุ่นเคืองใจ.

หวั่นวิตก

หมายถึงก. มีความรู้สึกกังวลใจ.

คาด

หมายถึงก. นึกไว้, หมายไว้, มักใช้เข้าคู่กับคำ คะเน หรือ หมาย เป็น คาดคะเน คาดหมาย.

บ้องตื้น

หมายถึงว. มีความคิดอย่างโง่ ๆ.

โหยหิว

หมายถึงก. รู้สึกอ่อนเพลียเพราะมีความหิวมาก.

อวิญญู

หมายถึงว. โง่, ไม่มีความรู้. (ป.).

กลัดมัน

หมายถึงว. มีความรู้สึกในทางกามารมณ์อย่างรุนแรง.

ครัน

หมายถึง[คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคำอื่นมีความหมายไปในทำนองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ