ค้นเจอ 321 รายการ

ปฏิคาหก

หมายถึงน. ผู้รับทาน. (ป. ปฏิคฺคาหก).

อนิจกรรม

หมายถึงน. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.

สนอบ

หมายถึง[สะหฺนอบ] (โบ) น. เสื้อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานใช้นุ่งห่มเฉพาะในพระราชพิธี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในเวลารับแขกเมือง เป็นต้น. (ข. สฺนบ ว่า ผ้าห่อศพ).

ราช

หมายถึงน. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นสามัญตํ่ากว่าชั้นเทพ เรียกว่าชั้นราช เช่น พระราชสุธี พระราชโมลี.

มนเทียร

หมายถึง[มนเทียน] น. เรือนหลวง ใช้ว่า พระราชมนเทียร, โบราณใช้ว่า พระราชมณเฑียร. (ป., ส. มนฺทิร).

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

หมายถึงน. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.

ชายา

หมายถึง(ราชา) น. หม่อมเจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์, ถ้าพระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์ เรียกว่า พระชายา.

ทอดที่

หมายถึง(ราชา) ก. จัดที่นั่งที่นอน เช่น ทอดที่พระราชอาสน์.

ราชกิจ

หมายถึงน. ธุระของพระราชา ใช้ว่า พระราชกิจ.

พระชายา

หมายถึง(ราชา) น. พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์.

มนเทียรบาล

หมายถึง[มนเทียนบาน] น. การปกครองภายในพระราชฐาน, เรียกข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก ว่า กฎมนเทียรบาล; ผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในพระราชฐาน, โบราณใช้ว่า มณเฑียรบาล.

ทานกัณฑ์

หมายถึง[ทานนะ-] น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๓ ในมหาชาติ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ