ค้นเจอ 159 รายการ

ไพชยนต์

หมายถึง[-ชะยน] น. ชื่อรถและวิมานของพระอินทร์; ปราสาททั่วไปของหลวง; ธงของพระอินทร์. (ส. ไวชยนฺต, ไวชยนฺตี; ป. เวชยนฺต).

กรรตุ,กรรตุ-

หมายถึง[กัด, กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทำ. (ป. กตฺตุ; ส. กรฺตฺฤ).

อธิกสุรทิน

หมายถึง[-สุระทิน] น. วันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือ ในปีนั้นเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีก ๑ วัน เป็น ๒๙ วัน.

ราชทินนาม

หมายถึง[ราดชะทินนะนาม] น. ชื่อบรรดาศักดิ์หรือสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทาน.

ทศม,ทศม-

หมายถึง[ทะสะมะ-, ทดสะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมสุรทิน = วันที่ ๑๐. (ส.).

ฉพีสติม,ฉพีสติม-

หมายถึง[ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่งเดือนสุริยคติ). (ป.).

อิตถีลิงค์

หมายถึง(ไว) น. เพศของคำที่เป็นเพศหญิง เช่น ย่า ยาย แม่ นารี, สตรีลิงค์ หรือ สตรีลึงค์ ก็ว่า.

เวชยันต์

หมายถึง[เวดชะ-] น. ชื่อวิมานหรือรถของพระอินทร์. (ป.; ส. ไวชยนฺต).

ปุงลิงค์,ปุงลึงค์

หมายถึง(ไว) น. เพศของคำที่เป็นเพศชาย เช่น ปู่ ตา พ่อ ภิกษุ, ปุลลิงค์ หรือ ปุลลึงค์ ก็ว่า.

หาริน,หารี

หมายถึงว. ถือเอา, นำไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้. (ส.).

เต

หมายถึง(แบบ) ว. สาม, ใช้เติมหน้าศัพท์สังขยาเป็นเศษจำนวนเต็ม เช่น เตรสมสุรทิน = วันที่ ๑๓, เตรสีดิถี = วัน ๑๓ คํ่า, เตวีสติมสุรทิน = วันที่ ๒๓, เตติงสติมสังวัจฉระ = ปี (แห่งรัชกาล) ที่ ๓๓. (ป.).

บริบท

หมายถึง[บอริบด] (ไว) น. คำหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ