ค้นเจอ 102 รายการ

สรรพนาม

หมายถึง(ไว) น. คำที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.

ขยุม

หมายถึง[ขะหฺยุม] ว. ขะยุก, ทำถี่ ๆ, เช่น เห็นลับแลแล้วก็พายขยุมใหญ่. (ส. ท่านพุฒาจารย์-โต).

เจ้าประคุณ

หมายถึงน. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมาจาก เจ้าพระคุณ).

กรรณยุคล

หมายถึง[กันนะ-] น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป., ส. ยุคล ว่า คู่).

ษมายุมแปลง

หมายถึงน. เครื่องขมาโทษที่ชายนำไปคำนับพ่อแม่หญิงเพื่อขอโทษในการที่ลักพาลูกสาวท่านไป.

พรหมวิหาร

หมายถึง[พฺรมมะ-, พฺรม-] น. ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).

เสียงแข็ง

หมายถึงว. อาการที่กล่าวออกมาอย่างยืนยันหนักแน่น เช่น เขาเถียงเสียงแข็งว่าเขาทำถูกต้องแล้ว; อาการที่พูดด้วยน้ำเสียงไม่สุภาพ เช่น อย่าพูดเสียงแข็งกับพ่อแม่. น. คะแนนเสียงดี เช่น ในพื้นที่นี้เขามีเสียงแข็งมาก คงได้รับเลือกตั้งแน่.

คมิกภัต

หมายถึง[คะมิกะ-] น. อาหารที่เตรียมถวายภิกษุก่อนที่ท่านจะออกเดินทาง. (ป. คมิกภตฺต).

หมายถึง[ทะ] (กลอน) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

รับสั่ง

หมายถึง(ราชา) น. คำสั่ง (ใช้แก่เจ้านาย) เช่น มีรับสั่งให้เข้าเฝ้า. ก. พูด, บอก, (ใช้แก่เจ้านาย) เช่น ท่านรับสั่งให้หา.

ประ,ประ-,ประ-

หมายถึง[ปฺระ] ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คำที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.

เสียมือเสียตีน,เสียมือเสียเท้า

หมายถึงก. สูญเสียมือและตีนไป, สูญเสียมือและเท้าไป, โดยปริยายหมายถึงเสียบุคคลที่รับใช้ใกล้ชิดหรือไว้วางใจไป เช่น เด็กคนนี้รับใช้ใกล้ชิดจนรู้ใจท่านสมภารมานาน ตายไปก็เท่ากับท่านเสียมือเสียตีนไป.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ