ค้นเจอ 77 รายการ

จรรโลง

หมายถึง[จัน-] (แบบ) ก. พยุงไว้ไม่ให้เซหรือไม่ให้ล้มลง, ผดุง, ค้ำชู, เช่น จรรโลงประเทศ, บำรุงรักษาและเชิดชูไว้ไม่ให้เสื่อม เช่น จรรโลงศาสนา.

โลกธรรม

หมายถึง[โลกกะ-] น. เรื่องของโลก, ธรรมดาของโลก ทางพระพุทธศาสนามี ๘ ประการ คือ ๑. มีลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. มียศ ๔. เสื่อมยศ ๕. สรรเสริญ ๖.นินทา ๗. สุข ๘. ทุกข์. (ส. โลกธรฺม; ป. โลกธมฺม).

วัณโรค

หมายถึงน. โรคชนิดหนึ่งเกิดที่ปอดเป็นต้น ทำให้ร่างกายทรุดโทรมเสื่อมไปตามลำดับ, โบราณเรียกวัณโรคปอดว่า ฝีในท้อง.

เงินเฟ้อ

หมายถึง(เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมากเกินไป ทำให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า.

สะตุ

หมายถึงก. แปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่นเกลือ สารส้ม จุนสี ให้เป็นผงบริสุทธิ์โดยวิธีทำให้ร้อนจัดด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการสลายกลายเป็นควันไป.

ทราม

หมายถึง[ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบเป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.

โทรม

หมายถึง[โซม] ก. เสื่อมสภาพเดิม เช่น เรือนหลังนี้โทรมมาก ปีนี้ดูโทรมลงไปมาก ไฟโทรมแล้ว ผักโทรม; ทำให้ยอบลง เช่น โทรมหญ้า.

นาศ

หมายถึง(แบบ) น. ความเสื่อม, การทำลาย, ความป่นปี้, เช่น บุญแห่งเจ้าจักนาศ จากอาวาศเวียงอินทร์. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส.; ป. นาส).

ขย,ขย-

หมายถึง[ขะยะ-] (แบบ) น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ในสมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคำท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย. (ป.).

หินชั้น

หมายถึงน. หินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่เกิดจากหินอัคนีหรือหินแปรที่ผุพังแตกสลายหรือการตกตะกอนทางเคมี รวมทั้งตะกอนที่เกิดจากการสะสมของซากดึกดำบรรพ์ มีลักษณะของการเรียงตัวเป็นชั้น ๆ, หินตะกอน ก็เรียก.

หินตะกอน

หมายถึงน. หินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่เกิดจากหินอัคนีหรือหินแปรที่ผุพังแตกสลายหรือการตกตะกอนทางเคมีรวมทั้งตะกอนที่เกิดจากการสะสมของซากดึกดำบรรพ์ มีลักษณะการเรียงตัวเป็นชั้น ๆ, หินชั้น ก็เรียก.

เสียสายตา

หมายถึงก. ทำให้สายตาเสื่อมลงหรือเลวลง เช่น อย่าอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างน้อย จะทำให้เสียสายตา; โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียสายตาหรอก, เสียตา ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ