ค้นเจอ 80 รายการ

น้ำมันดิน

หมายถึงน. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดำ ได้จากการกลั่นทำลายไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อนำไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อีกมาก.

มะค่า

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Afzelia xylocarpa Craib ในวงศ์ Leguminosae ใบคล้ายใบประดู่ ฝักแบน หนา แข็ง เนื้อไม้สีนํ้าตาลอมแดง ใช้ในการก่อสร้าง, มะค่าโมง หรือ มะค่าใหญ่ ก็เรียก.

กระบาก

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Anisoptera ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลำต้นตรง สูง ๓๐-๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนัก โดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต.

กะทังหัน

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Calophyllum thorelii Pierre ในวงศ์ Guttiferae ดอกสีขาว ผลเล็ก รูปไข่ เนื้อไม้ใช้ทำพื้น ฝา เสาบ้าน และเสากระโดงเรือได้.

ฝาง

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Caesalpinia sappan L. ในวงศ์ Leguminosae ต้นมีหนาม ดอกสีเหลือง เนื้อไม้สีแดงใช้ย้อมผ้าและทำยาได้; สีแดงสด.

กระลำพัก

หมายถึงน. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ ๆ เกิดในต้นสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum L.) และต้นตาตุ่มทะเล (Excoecaria agallocha L.) ในวงศ์ Euphorbiaceae กลิ่นหอมอ่อน รสขม ใช้ทำยาได้.

กฤษณา

หมายถึง[กฺริดสะหฺนา] น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผล พบเฉพาะในต้นไม้ชนิด Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec. และ A. malaccensis Lam. ในวงศ์ Thymelaeaceae กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้.

มะฮอกกานี

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Swietenia วงศ์ Meliaceae คือ มะฮอกกานีใบใหญ่ (S. macrophylla King) และ มะฮอกกานีใบเล็ก [S. mahogani (L.) Jacq.], ทั้ง ๒ ชนิดเนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือนได้ดี.

กะเปียด

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Premna tomentosa Willd. ในวงศ์ Labiatae ลักษณะคล้ายต้นสัก แต่ใบเล็กกว่า รูปไข่หรือรี ปลายแหลมก้านยาว เนื้อไม้ละเอียด ใช้ทำประโยชน์ได้, พายัพเรียก สักขี้ไก่.

ตะโก

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Diospyros วงศ์ Ebenaceae เปลือกสีดำคลํ้า เช่น ตะโกสวน (D. malabarica Kostel.) ผลคล้ายมะพลับ ตะโกนา (D. rhodocalyx Kurz) ผลเล็ก ผล เปลือก และเนื้อไม้ใช้ทำยาได้.

การบูร

หมายถึง[การะบูน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cinnamomum camphora (L.) J.S. Presl ในวงศ์ Lauraceae เนื้อไม้มีสารสีขาว กลิ่นฉุนร้อน ซึ่งกลั่นแยกออกมาได้ เรียกว่า การบูร หรือ กรบูร ใช้ทำยา. (ส. กฺรบูร).

เสี้ยน

หมายถึงน. เนื้อไม้ที่แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ ปลายแหลมอย่างหนาม, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น หน่อไม้แก่มีเนื้อเป็นเสี้ยน; ข้าศึก เช่น สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน. (นิ. นรินทร์), เหือดเสี้ยนศึกสยาม สิ้นนาฯ. (ตะเลงพ่าย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ