ค้นเจอ 60 รายการ

นั้น

หมายถึงว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมายฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกลกว่า นี้ เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคำอื่นคู่กับคำ ใด แสดงความแน่นอน เช่น คนใด...คนนั้น เมื่อใด...เมื่อนั้น.

โทษ,โทษ-

หมายถึง[โทด, โทดสะ-] น. ความไม่ดี, ความชั่ว, เช่น โทษแห่งความเกียจคร้าน, ความผิด เช่น กล่าวโทษ, ผลแห่งความผิดที่ต้องรับ เช่น ถูกลงโทษ, ผลร้าย เช่น ยาเสพติดให้โทษ. ก. อ้างเอาความผิดให้ เช่น อย่าโทษเด็กเลย. (ส.; ป. โทส).

เวทานต์,เวทานตะ

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์หนึ่งที่ถือว่าอาตมันเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง คัมภีร์นี้อ้างคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นหลัก ซึ่งคัมภีร์เหล่านั้นอยู่ในระยะสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท จึงได้ชื่อว่า เวทานต์ คือ ที่สุดแห่งคัมภีร์พระเวท; ชื่อปรัชญาอินเดียฝ่ายพระเวท. (ส.).

โคตรภู

หมายถึง[โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลำดับอริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีขนบธรรมเนียมห่างจากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).

ว่าง

หมายถึงว. เปล่า, ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง, เช่น ห้องว่าง ที่ว่าง ตำแหน่งว่าง, บางทีใช้ควบคู่กับคำ เปล่า เป็น ว่างเปล่า; ไม่มีภาระผูกพัน เช่น วันนี้ว่างทั้งวัน เย็นนี้หมอว่างไม่มีคนไข้. น. เรียกของกินในเวลาที่ไม่ใช่เวลากินข้าวว่า ของว่าง เครื่องว่าง อาหารว่าง.

ชัก

หมายถึงก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้าชักออก; นำ เช่น ชักนํ้าเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน; นำเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชักค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกำแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.

นี่

หมายถึงส. คำใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คำใช้ประกอบคำนามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คำประกอบท้ายคำเพื่อเน้นความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่.

สาบาน

หมายถึงก. กล่าวคำปฏิญาณโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพยาน, ประเพณีเดิมจะต้องดื่มนํ้าพระพุทธมนต์ นํ้าเทพมนตร์ หรือ สุราผสมเลือดที่ผู้ร่วมกล่าวคำปฏิญาณกรีดให้หยดลงไปด้วย เช่น สาบานเป็นพี่น้องกัน เพื่อนร่วมสาบาน; (กฎ) กล่าวคำปฏิญาณตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตนว่า จะให้การตามสัตย์จริง. (ป. สปน; ส. ศปน).

คำแถลงการณ์

หมายถึง(กฎ) น. คำแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งกระทำหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาลในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคำคู่ความหรือในปัญหาข้อใดที่ศาลจะพึงมีคำสั่งหรือคำพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยานหลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.

จำนอง

หมายถึงก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กำหนด, จำไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง. (แผลงมาจาก จอง).

รัตนโกสินทร์

หมายถึงน. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึงกรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.

คดีอนาถา

หมายถึง(กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ