ค้นเจอ 60 รายการ

สามีจิกรรม

หมายถึงน. การแสดงความเคารพตามธรรมเนียมของพระเณรในระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่น ระหว่างพระอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริก ระหว่างอาจารย์กับอันเตวาสิก หรือระหว่างผู้แก่พรรษากับผู้อ่อนพรรษากว่า. (ส.; ป. สามีจิกมฺม).

นับถือ

หมายถึงก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้หลักผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคำลงท้ายจดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ.

รับใช้

หมายถึงก. รับว่าจะใช้เงินให้; คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วยความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายหรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา.

สายตา

หมายถึงน. ระยะที่ตาจะมองเห็นได้ เช่น สุดสายตา อยู่ในสายตา, โดยปริยายหมายความว่า ความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ความประพฤติของนักเรียนอยู่ในสายตาของครูอาจารย์, ความสอดส่องจับตาดูอยู่เสมอ เช่น พวกนักเลงอยู่ในสายตาของตำรวจ, ความสนใจ เช่น คนจนไม่อยู่ในสายตาของพวกเศรษฐี.

ปฏิบัติ

หมายถึงก. ดำเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทำเพื่อให้เกิดความชำนาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทำตาม เช่น ปฏิบัติตามสัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติรับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).

ลบหลู่

หมายถึงก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มีอุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข.

ประจำ

หมายถึงว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจำ นั่งประจำ; เฉพาะ เช่น ตราประจำกระทรวง ตราประจำตำแหน่ง; ที่กำหนดให้มีเป็นปรกติ เช่น งานประจำปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจำทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครูหรืออาจารย์ประจำชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและจะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจำตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้างไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจำ, เรียกผู้ที่มาติดต่อหรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจำ ขาประจำ, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝากครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทำตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจำ, มัดจำ ก็ว่า.

ท่าน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำกลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่าลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำที่ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์หรือตำแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.

ทาง

หมายถึงน. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.

พิเศษ

หมายถึงว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษ เขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศเป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษ พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).

นหาดก

หมายถึง[นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คำบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สำหรับเรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทำพิธีอาบนํ้า ซึ่งจำต้องกระทำเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสำนักอาจารย์ และตั้งต้นเป็นผู้ครองเรือน (คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอาท่านที่ชำระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).

ขึ้น

หมายถึงก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง; เพิ่มหรือทำให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทำเนียบ; เอ่ยคำหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ, เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทำอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทำให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจากธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ