ค้นเจอ 66 รายการ

สารนิเทศ

หมายถึง[สาระนิเทด] น. การชี้แจงแนะนำเกี่ยวกับข่าวสารหรือข้อมูลต่าง ๆ. (ส. สาร + นิรฺเทศ; ป. สาร + นิทฺเทส).

เพ้อเจ้อ

หมายถึงว. พล่าม, อาการที่พูดมากในเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระ, อาการที่พูดพล่ามจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดไม่รู้จักจบ.

ส่วนควบ

หมายถึง(กฎ) น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป.

สื่อมวลชน

หมายถึงน. สื่อกลางที่นำข่าวสาร สาร และเนื้อหาสาระทุกประเภทไปสู่มวลชน เช่นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์, (ปาก) นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น.

สารสนเทศ

หมายถึง[สาระสนเทด, สานสนเทด] น. ข่าวสาร; การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ. (ส. สาร + สนฺเทศ; ป. สาร + สนฺเทส).

สารถี

หมายถึง[สาระถี] น. คนขับรถ, คนบังคับม้า, โดยปริยายหมายความว่า ผู้บังคับหรือฝึกหัด ในความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก. (ป., ส. สารถิ).

เนื้อหา

หมายถึงน. ใจความสำคัญ, ข้อสำคัญ, สาระสำคัญ; วงเงินตามข้อตกลงที่จ้างหามา รวมทั้งค่ารถค่าอาหาร เป็นต้น (มักใช้แก่การมหรสพ เช่น ลิเก ละคร).

ทำซ้ำ

หมายถึง(กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.

กระวี

หมายถึงน. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี).

หลัก

หมายถึงน. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดำรงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลักกฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.

สารภี

หมายถึง[สาระพี] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Mammea วงศ์ Guttiferae ดอกสีขาว กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้ คือ ชนิด M. harmandii Kosterm. ดอกใหญ่ และชนิด M. siamensis (Miq.) T. Anderson ดอกเล็ก. (ป., ส. สุรภิ).

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติทั่วไป.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ