ค้นเจอ 138 รายการ

ตระง่อง

หมายถึง[ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.

วิเศษณการก

หมายถึง[วิเสสะนะ-] (ไว) น. คำที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็นบทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละบุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากินช้อนส้อม เขามาบ้าน.

บัดนั้น

หมายถึงว. คำขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่ไม่ใช่ตัวเจ้าหรือมิได้เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).

รส

หมายถึงน. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).

ถอยหลังเข้าคลอง

หมายถึง(สำ) ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. น. ชื่อกลอักษร; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์; บทแผ่นเสียง).

อสัญแดหวา

หมายถึง[อะสันยะแดหฺวา] น. เทวดาต้นตระกูลของกษัตริย์ ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา คือ องค์ปะตาระกาหลา, ชื่อวงศ์กษัตริย์ผู้ครอง ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี. (ช.).

แผด

หมายถึง[ผะแด] น. บท (ใช้ในกลอน) เช่น จบสิบสองกำนัน ครูไม้หนึ่ง ๑๔ แผด. (กาพย์ขับไม้). (ข.).

เข้าถึง

หมายถึงก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิดสนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.

โทโทษ

หมายถึงน. คำที่ใช้ไม้เอกโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ไม้โทเสียงเดียวกัน ในบทนิพนธ์ที่บังคับให้ใช้ไม้โท เช่น ง่าย เป็น หง้าย, พลั่ง เป็น ผลั้ง.

แหล่

หมายถึง[แหฺล่] น. ตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งในเทศน์มหาชาติซึ่งลงท้ายด้วยคำว่า แล เช่น นั้นแล นั่นแล. ก. เทศน์มหาชาติเป็นทำนองตามแบบในแต่ละกัณฑ์.

วิทยานิพนธ์

หมายถึงน. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.

วิกัติการก

หมายถึง[วิกัดติ-] (ไว) น. คำที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คำที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา “เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ