ค้นเจอ 102 รายการ

มฤทุ

หมายถึง[มะรึ-] ว. นุ่ม, อ่อน, อ่อนโยน, สุภาพ; แช่มช้า. (ส. มฺฤทุ; ป. มุทุ).

แต่ ๆ

หมายถึงว. เสียงร้องเช่นนั้นและทำมือส่ายไปมาล่อให้เด็กเล็ก ๆ รำ, แต่ช้าแต่ ก็ว่า.

เสียงอ่อนเสียงหวาน

หมายถึงน. น้ำเสียงที่ไพเราะน่าฟัง, น้ำเสียงที่แสร้งดัดให้เบา ช้าลง และไพเราะน่าฟัง เพื่อประจบเป็นต้น.

ที่สุด

หมายถึงน. ปลายสุด. ว. สุดท้าย เช่น ในที่สุด; ลักษณะที่ยิ่งหรือหย่อนกว่าสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดในพวกเดียวกัน เช่น ดีที่สุด ช้าที่สุด.

เสีย

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อให้เน้นความหมายหรือให้เสร็จไป เช่น กินเสีย มัวไปช้าเสีย.

ต้วมเตี้ยม

หมายถึงว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กริยาเดินหรือคลาน), กระต้วมกระเตี้ยม ก็ว่า.

ชะลอ

หมายถึงก. อาการที่ลากเลื่อนสิ่งของที่หนักให้ค่อย ๆ เคลื่อนไปจากที่, พยุงไว้, ประคองไว้, ค่อย ๆ ประคองไป เช่น โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์, ค่อย ๆ พยุงขึ้น; ทำให้ช้าลง, ทำให้ช้าลงเพื่อรอ เช่น ชะลอเวลา ชะลอการเกิด.

เลี้ยงไข้

หมายถึงก. อาการที่หมอจงใจชะลอการรักษาโรคให้หายช้าเพื่อจะเรียกค่ารักษาได้นาน ๆ.

ถ่วง

หมายถึงก. ทำให้หนัก เช่น ถ่วงนํ้าหนัก, ทำให้ช้า เช่น ถ่วงเวลา ถ่วงความเจริญ, ทำให้จม เช่น ถ่วงนํ้า.

สาย

หมายถึงน. เวลาระหว่างเช้ากับเที่ยงประมาณ ๙.๐๐ น. ถึง ๑๐.๐๐ น. เช่น พอสายก็ออกเดินทาง. ว. ช้ากว่าเวลาที่กำหนด, ล่าช้า, เช่น มาทำงานสาย, โดยปริยายหมายความว่า พ้นเวลาที่จะแก้ไข, สุดที่จะแก้ไขได้ เช่น เรื่องนี้ทำอะไรไม่ได้ สายเกินไปเสียแล้ว.

เคี้ยวเอื้อง

หมายถึงก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า, บดเอื้อง ก็ว่า.

กระต้วมกระเตี้ยม

หมายถึงว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ