ค้นเจอ 73 รายการ

อาจิณ-

หมายถึง[-จินนะ-] ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. (ป. อาจิณฺณ; ส. อาจิรฺณ).

ปัญจนที

หมายถึงน. แม่นํ้า ๕ สาย คือ ๑. คงคา ๒. ยมนา ๓. อจิรวดี ๔. สรภู ๕. มหี.

วากจิรพัสตร์

หมายถึงน. ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้, ผ้าป่าน. (ป. วากจิร ว่า ที่ทำด้วยเปลือกไม้ + ส. วสฺตฺร ว่า ผ้า).

อัตตโนบท

หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.

จิตระ,จิตรา

หมายถึง[จิดตฺระ, จิดตฺรา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๔ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปต่อมนํ้าหรือไต้ไฟ เช่น จิตราก็ปรากฏดำบล เสถียรที่สิบสี่หมาย. (สรรพสิทธิ์), ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวตาเสือ ก็เรียก. (ส.; ป. จิตฺตา).

จิตภาพ

หมายถึง[จิดตะ-] น. ลักษณะทั่วไปของจิตที่แสดงให้เห็นเด่นชัด, บางทีใช้หมายถึงวิสัยสามารถของจิต. (อ. mentality).

ลาช,ลาชะ,ลาชา

หมายถึง[ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).

จิตเวชศาสตร์

หมายถึง[จิดตะเวดชะ-] น. วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาการตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต. (อ. psychiatry).

จิตแพทย์

หมายถึง[จิดตะ-] น. แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดงความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ. (อ. psychiatrist).

มุจลินท์

หมายถึง[มุดจะ-] น. ต้นจิก; ชื่อสระใหญ่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งขอบสระประกอบด้วยต้นจิก. (ป.; ส. มุจิลินฺท).

จิตนิยม

หมายถึง[จิดตะ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริงขั้นสูงสุด วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดขึ้น. (อ. idealism).

อันโยนย,อันโยนย-,อันโยนยะ

หมายถึง[-โยนยะ] (โบ) ว. “กันและกัน”. (ส. อนฺโยนฺย; ป. อญฺมญฺ); ในไวยากรณ์ใช้เรียกสรรพนามพวกหนึ่ง ซึ่งแทนชื่อคน สัตว์ หรือสิ่งของที่รวมกัน ได้แก่คำว่า “กัน” เช่น คนตีกัน เรียกว่า อันโยนยสรรพนาม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ