ค้นเจอ 228 รายการ

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

ทุกขลาภ

หมายถึง[ทุกขะลาบ] น. การที่ต้องรับทุกข์เสียก่อนจึงมีลาภ, ลาภที่ได้มาด้วยความทุกข์ยาก, ลาภที่ได้มาแล้วมีทุกข์ติดตามมาด้วย.

ทุกขสมุทัย

หมายถึง[ทุกขะสะหฺมุไท] น. เหตุให้เกิดทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจข้อที่ ๒. (ป.).

ทุกฏ

หมายถึง[ทุกกด] (แบบ) น. ความชั่ว; ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗. (ป. ทุกฺกฏ).

ทุกเมื่อเชื่อวัน

หมายถึงว. ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น.

ทุกร,ทุกร-

หมายถึง[ทุกกะระ-] (แบบ) น. สิ่งที่ทำได้ยาก. (ป. ทุกฺกร).

ทุกหน

หมายถึงว. ทุกครั้ง.

ทุกหัวระแหง

หมายถึงว. ทุกแห่งหน.

ทุกัง

หมายถึงดู ทูกัง.

ทุ้ง

หมายถึงว. ตุง, ตุ่ยออกมา. น. ฝักบัวที่ย้อยลงมา เช่น เปิดนํ้าลงตามทุ้งสหัสธารา. (สิบสองเดือน).

ทุนจดทะเบียน

หมายถึง(กฎ) น. จำนวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย และได้กำหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท โดยแยกออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจำนวนสูงสุดของหุ้นที่จะออกจำหน่ายได้. (อ. authorized capital).

ทุนสำรองเงินตรา

หมายถึง(กฎ) น. กองทุนสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาไว้ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ