ค้นเจอ 86 รายการ

อัญประกาศ

หมายถึง[อันยะ-] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ “ ” สำหรับเขียนคร่อมคำหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคำพูด หรือเพื่อเน้นความนั้นให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.

คูณ

หมายถึงก. เพิ่มจำนวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ, เท่า เช่น ทวีคูณ คือ ๒ เท่า ตรีคูณ คือ ๓ เท่า. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้x ว่า เครื่องหมายคูณ. (ป., ส. คุณ).

เทง,เท้ง,เท้ง

หมายถึง(โบ) ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเท้งทรวารพระกุฎีดูดังนี้. (ม. คำหลวง กุมาร).

โคมูตร

หมายถึง[-มูด] น. เครื่องหมายสุดเรื่องในหนังสือรุ่นเก่า มีรูปดังนี้ ; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาววานร ดาวงอนไถ ดาวงูผู้ ดาวมฆะ หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก.

ยามักการ

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือบาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา.

พิสดาร

หมายถึง[พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).

ลูกน้ำ

หมายถึงน. ลูกอ่อนของยุงที่ยังอาศัยอยู่ในนํ้า เมื่อแก่เข้าหลุดจากปลอกเป็นยุง; ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรคตอนของข้อความ เรียกว่า จุดลูกนํ้า หรือ จุลภาค.

สัญประกาศ

หมายถึง[สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ - ใช้ขีดไว้ใต้คำหรือข้อความที่สำคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.

ห้อม

หมายถึงก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม; (โบ) ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่าพระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ. ภาค ๓).

หยาดน้ำค้าง

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ นฤคหิต ก็เรียก. (ดู นิคหิต); ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, เม็ดน้ำค้าง ก็เรียก.

อัษฎมงคล,อัษฏมงคล

หมายถึงน. สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ อย่าง นิยมดังนี้ ๑. กรอบหน้า ๒. คทา ๓. สังข์ ๔. จักร ๕. ธง ๓ ชาย ๖. ขอช้าง ๗. โคเผือก ๘. หม้อนํ้า. (ส.).

ไปยาล

หมายถึงน. เครื่องหมายละคำ รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สำหรับละคำที่ประกอบคำหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สำหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า “ละ”, หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า “ละถึง”, เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ