ค้นเจอ 109 รายการ

สัจนิยม

หมายถึง[สัดจะ-] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).

ปรองดอง

หมายถึง[ปฺรอง-] ก. ออมชอม, ประนีประนอม, ยอมกัน, ไม่แก่งแย่งกัน, ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย, ตกลงกันด้วยไมตรีจิต.

สติปัฏฐาน

หมายถึงน. ชื่อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม. (ป.).

สอบอารมณ์

หมายถึงก. สอบถามประสบการณ์ทางจิตของผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานว่าก้าวหน้าไปถึงขั้นใดแล้ว.

ชโลง

หมายถึง[ชะ-] (โบ) ก. พยุงไว้ไม่ให้เซ, จรรโลง, จูง เช่น ให้เป็นหลักชโลงจิต. (กฎ. ราชบุรี).

อธิฏฐาน

หมายถึง[อะทิดถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิษฐาน ก็ว่า. (ป.; ส. อธิษฺาน).

สมุฏฐาน

หมายถึง[สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ, เช่น สมุฏฐานของโรค โรคนี้มีจิตเป็นสมุฏฐาน. (ป.).

ของเลื่อน

หมายถึงน. สำรับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทำบุญนำไปให้ผู้ที่นับถือด้วยไมตรีจิต.

บาดทะจิต

หมายถึงน. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง มักกำเริบขึ้นเป็นครั้งคราว มีอาการหงุดหงิด จิตฟุ้งซ่าน.

ลึกล้ำ

หมายถึงว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งถึง เช่น ปัญญาลึกล้ำ จิตมนุษย์สุดลึกล้ำ, ล้ำลึก ก็ว่า.

อายุรเวท

หมายถึงน. วิชาแพทย์, วิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษา. (ถือกันว่าเป็นวิชาศักดิ์สิทธิ์และเป็นส่วนหนึ่งของอถรรพเวท). (ส.).

ส่งกระแสจิต

หมายถึงก. อาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ