ค้นเจอ 44 รายการ

หยวก

หมายถึงน. ลำต้นกล้วย เช่น หั่นหยวกต้มกับรำให้หมูกิน, บางทีก็เรียกว่า หยวกกล้วย เช่น แพหยวกกล้วย, ส่วนในหรือแกนอ่อนของลำต้นเทียมของกล้วย มีสีขาว กินได้ เช่น ต้มหยวก แกงหยวก, กาบกล้วย ในคำว่า แทงหยวก; (ปาก) ไม่แข็งแน่น เช่น มีดเล่มนี้คมมาก ตัดกิ่งไม้ได้ง่ายเหมือนฟันหยวก, ใช้เปรียบผิวที่ขาวมากว่า ขาวเหมือนหยวก.

หลอด

หมายถึง[หฺลอด] น. ของกลมยาวขนาดเล็กที่มีรูตลอด เช่น หลอดกาแฟ หลอดแก้ว, โดยปริยายเรียกสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลอดตะเกียง หลอดไฟฟ้า หลอดวิทยุ หลอดนีออน หลอดทดลอง, เรียกแกนที่มีช่วงกลางคอดคล้ายลูกล้อสำหรับพันด้ายว่า หลอดด้าย, เรียกด้ายที่พันหลอดเช่นนั้นว่า ด้ายหลอด, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ยาฉีด ๓ หลอด.

บายศรี

หมายถึงน. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ).

ดีด,ดีด,ดีดขัน,ดีดขัน

หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Elateridae ลำตัวยาว แบนเล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดำ นํ้าตาล หรือเทาปลอด บางชนิดมีจุดเป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่งยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทำให้สามารถดีดตัวกลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น.

ปรง

หมายถึงน. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล Acrostichum วงศ์ Pteridaceae ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ ปรงทะเล (A. aureum L.) และ ปรงหนู (A. speciosum Willd.). (๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลำต้นกลม สีดำขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (C. revoluta Thunb.) ใบใช้ทำพวงหรีด ปรงเขา (C. pectinata Griff.).

ทับทิม

หมายถึงน. พลอยสีแดงชนิดหนึ่ง; เรียกสิ่งที่เป็นเกล็ดสีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้าจะออกเป็นสีทับทิม ว่า ด่างทับทิม; เรียกหินที่มีสีคล้ายทับทิมใช้รองแกนในนาฬิกาข้อมือเป็นต้นว่า ทับทิม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งมันใส่สีแดงเหมือนเม็ดทับทิมต้มกินกับนํ้าเชื่อมหรือนํ้าหวานว่า ทับทิมลอยแก้ว, ถ้าทำด้วยแห้วหรือมันแกวหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกแป้ง แล้วทำด้วยกรรมวิธีเดียวกัน เรียกว่า ทับทิมกรอบ. ว. สีแดงชนิดหนึ่งคล้ายทับทิม เรียกว่า สีทับทิม. (ไทยเดิม ทับทิม ว่า แสงแดง). (ส. ทาฑิม).

กระบอก

หมายถึงน. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สำหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กำเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. (อ. cylinder).

จำปา

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็นกลีบเหมือนกลีบดอกจำปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออกเป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบนของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ