ค้นเจอ 303 รายการ

มนเทียร

หมายถึง[มนเทียน] น. เรือนหลวง ใช้ว่า พระราชมนเทียร, โบราณใช้ว่า พระราชมณเฑียร. (ป., ส. มนฺทิร).

ชายา

หมายถึง(ราชา) น. หม่อมเจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์, ถ้าพระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์ เรียกว่า พระชายา.

ทอดที่

หมายถึง(ราชา) ก. จัดที่นั่งที่นอน เช่น ทอดที่พระราชอาสน์.

ราชกิจ

หมายถึงน. ธุระของพระราชา ใช้ว่า พระราชกิจ.

พระชายา

หมายถึง(ราชา) น. พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์.

มนเทียรบาล

หมายถึง[มนเทียนบาน] น. การปกครองภายในพระราชฐาน, เรียกข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก ว่า กฎมนเทียรบาล; ผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในพระราชฐาน, โบราณใช้ว่า มณเฑียรบาล.

รับเสด็จพระราชดำเนิน

หมายถึง(ราชา) ก. รับการเสด็จพระราชดำเนิน, ในการเขียนใช้ รับเสด็จพระราชดำเนิน หรือ รับเสด็จฯ ก็ได้.

ประพาสต้น

หมายถึง(ราชา) ก. เที่ยวไปเป็นการส่วนพระองค์, เที่ยวไปอย่างไม่เป็นทางการ, ใช้ว่า เสด็จประพาสต้น.

สีหบัญชร

หมายถึงน. หน้าต่างที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกรับแขกเมืองเป็นต้น, สิงหบัญชร ก็ว่า.

เรือพระที่นั่ง

หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช.

จำราย

หมายถึง(กลอน) ก. กระจาย, แผ่ไป, เช่น เสด็จจรจำรายศักดิ์ โสภิต. (ทวาทศมาส).

กฎมนเทียรบาล

หมายถึง(กฎ) น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ