ค้นเจอ 53 รายการ

เพล

หมายถึง[เพน] น. เวลาพระฉันกลางวัน คือ เวลาระหว่าง ๑๑ นาฬิกาถึงเที่ยง เรียกว่า เวลาเพล. (ป., ส. เวลา ว่า กาล).

หยุด

หมายถึงก. ชะงัก เช่น งูเลื้อยตัดหน้าเขาจึงหยุด, อยู่นิ่ง, อยู่กับที่, เช่น รถหยุด; พัก เช่น หยุดงานตอนเที่ยง, ไม่กระทำต่อ เช่น หยุดกิจการ, เลิก เช่น เขาพูดไม่หยุด.

กิโล,กิโล-

หมายถึงเป็นคำประกอบข้างหน้าหน่วยมาตราเมตริก หมายความว่า พัน เช่น กิโลเมตร กิโลกรัม. (ปาก) น. เครื่องชั่ง เช่น กิโลนี้ไม่เที่ยง; คำเรียกสั้น ๆ ของกิโลกรัมและกิโลเมตร.

บ่าย

หมายถึงน. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบสเบือนบ่ายจำแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

ลืมตน

หมายถึงก. ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, ลืมนึกถึงฐานะของตนไปชั่วคราว, เช่น ได้ดีแล้วอย่าลืมตน; ลืมนึกถึงความจริงประการหนึ่งของโลกที่ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงอาจแปรเปลี่ยนได้ เช่น เหลิงอำนาจจนลืมตน.

วลี

หมายถึง[วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยังไม่เป็นประโยคสมบูรณ์ เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.

สาย

หมายถึงน. เวลาระหว่างเช้ากับเที่ยงประมาณ ๙.๐๐ น. ถึง ๑๐.๐๐ น. เช่น พอสายก็ออกเดินทาง. ว. ช้ากว่าเวลาที่กำหนด, ล่าช้า, เช่น มาทำงานสาย, โดยปริยายหมายความว่า พ้นเวลาที่จะแก้ไข, สุดที่จะแก้ไขได้ เช่น เรื่องนี้ทำอะไรไม่ได้ สายเกินไปเสียแล้ว.

วิกาล,วิกาล-

หมายถึง[วิกาน, วิกานละ-] ว. ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้าบ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระวินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหารในเวลาวิกาล. (ป.).

ก่อน

หมายถึงว. เดิม, เริ่ม, ลำดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคำนามบอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคำนามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคำกริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณีหมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.

วัน

หมายถึงน. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปรกติของกิจการนั้นแล้วแต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรม).

สังขาร,สังขาร-

หมายถึง[-ขาน, -ขาระ-, -ขานระ-] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.

กาลิก

หมายถึงน. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กำหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่นํ้าอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ