ค้นเจอ 52 รายการ

ธรรมปฏิสัมภิทา

หมายถึงน. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).

ฝอย

หมายถึงน. สิ่งที่เป็นเส้นเล็ก ๆ ละเอียด เช่น ฝอยขัดหม้อ, หรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยาฝอย ฉีดนํ้าเป็นฝอย; คำอธิบายวิธีใช้ยาหรือเวทมนตร์ต่าง ๆ; โดยปริยายหมายความว่าข้อความที่ไม่ใช่เนื้อหา. (ปาก) ก. พูดมากและเกินความจริง.

ฎีกา

หมายถึงน. คำอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรืออธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้งการขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก. ยื่นคำร้องขอหรือคำคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).

วิกัติการก

หมายถึง[วิกัดติ-] (ไว) น. คำที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คำที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา “เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.

อรรถปฏิสัมภิทา

หมายถึง[อัดถะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).

ตีความ

หมายถึงก. ชี้หรือกำหนดความหมาย; ให้ความหมายหรืออธิบาย; ใช้หรือปรับให้เข้าใจเจตนาและความมุ่งหมายเพื่อความถูกต้อง; (กฎ) วิเคราะห์ถ้อยคำหรือข้อความในบทกฎหมาย นิติกรรม สัญญา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีปัญหาสงสัย หรือที่มีความหมายไม่ชัดเจน เพื่อกำหนดความหมายอันแท้จริงของถ้อยคำหรือข้อความนั้น ๆ เช่น ตีความกฎหมาย.

คำแถลงการณ์

หมายถึง(กฎ) น. คำแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งกระทำหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาลในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคำคู่ความหรือในปัญหาข้อใดที่ศาลจะพึงมีคำสั่งหรือคำพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยานหลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.

นิรุตติปฏิสัมภิทา

หมายถึงน. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).

ตุ๊กตา

หมายถึง[ตุ๊กกะ-] น. ของเล่นของเด็กซึ่งทำเป็นรูปคนหรือสัตว์เป็นต้น มักมีขนาดเล็กกว่าตัวจริง, ลักษณนามว่า ตัว; เงาที่ปรากฏเป็นรูปคนเล็ก ๆ เป็นต้น ในแววตา; ที่รับเพลาและข้อเสือเครื่องจักรเพื่อให้เที่ยง; ชื่อเสาที่ยันขื่อคัด; ตัวอย่างที่สมมุติขึ้นมาประกอบคำอธิบายหรือวินิจฉัยเป็นต้น เช่น ตั้งตุ๊กตามาดู.

ละเอียด

หมายถึงว. ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น แป้งผัดหน้าละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด; ที่ต้องชี้แจงหรือแจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่องนี้ต้องอธิบายโดยละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงินควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อละเอียด.

โขมด

หมายถึง[ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ได้แก่แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).

ค่ายผนบบ้านหล่อ

หมายถึงน. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบพระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ