ค้นเจอ 73 รายการ

สังคมศึกษา

หมายถึง[สังคมมะ-, สังคม-] น. หมวดวิชาที่ประกอบด้วยวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม.

ตรีปิฎก

หมายถึงน. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมี ๓ หมวดใหญ่ หมวดหนึ่งเรียกว่า ปิฎกหนึ่ง คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมซึ่งโดยมากเรียกว่า ปรมัตถ์, ใช้ว่า ไตรปิฎก ก็ได้. (ส. ตฺริปิฏก; ป. ติปิฏก ว่า ตะกร้า ๓).

นวก,นวก-,นวก-

หมายถึง[นะวะกะ-] น. หมวด ๙ หมายความว่า วัตถุอันมีจำนวน ๙ ทุกอย่าง เช่น รัตนะ ๙ คำสอนของพระศาสดา ๙ พุทธคุณ ๙ เอามารวมไว้ในหมวดนั้น เรียกว่า นวก เช่น นวกนิบาต. (ป.).

ทุกนิบาต

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กำหนดด้วยธรรมหรือคาถาที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒. (ป.).

ภูมิรัฐศาสตร์

หมายถึง[พูมิ-] น. วิชาในหมวดสังคมศาสตร์สาขาหนึ่ง มีลักษณะคล้ายวิชาภูมิศาสตร์การเมือง แต่เน้นหนักไปทางการเมือง.

สังยุตนิกาย

หมายถึง[สังยุดตะ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๓ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันทั้งหมด.

สมุหนาม

หมายถึง(ไว) น. คำนามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก.

นิบาตชาดก

หมายถึงน. คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น เอกกนิบาตชาดก ทุกนิบาตชาดก.

อนุสติ

หมายถึง[อะนุดสะติ] น. ความระลึกถึง; ชื่อธรรมหมวดหนึ่ง เรียกว่า อนุสติ ๑๐ มีพุทธานุสติเป็นต้น. (ป. อนุสฺสติ).

ขบวน

หมายถึง[ขะ-] น. กระบวน, พวกที่จัดเป็นแถวเป็นแนวหรือเป็นหมวดเป็นหมู่อย่างขบวนแห่ ขบวนรถ ขบวนเรือ; ทางขี้ผึ้งในการหล่อรูป.

กรม

หมายถึง[กฺรม] (แบบ) น. ลำดับ เช่น จะเล่นโดยกรม. (สมุทรโฆษ). [ส.; ข. กฺรุ ํ (กฺรม) ว่า หมวด, หมู่, กอง; ครอบครัว เช่น มวยกฺรุ ํ = ครอบครัวหนึ่ง].

เงินเดือน

หมายถึงน. เงินค่าตอบแทนการทำงานที่กำหนดให้เป็นรายเดือน; (กฎ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ