ค้นเจอ 70 รายการ

เหนียง

หมายถึง[เหฺนียง] น. เนื้อหรือหนังที่ห้อยอยู่บริเวณคอของสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ นก วัว, โดยปริยายหมายถึงเนื้อที่ห้อยอยู่ตรงลำคอใต้คางของคนแก่ ในความว่า แก่จนเหนียงยาน; สายป่านที่ผูกยาวห้อยเป็นบ่วงจากสายซุงว่าวปักเป้า.

ติดลม

หมายถึงก. อาการที่ว่าวขึ้นไปสูงได้ลมพยุงให้ทรงตัวอยู่; โดยปริยายหมายความว่า พูดมากเรื่อยไปไม่รู้จักจบ.

ป่านคม

หมายถึงน. เส้นด้ายชักว่าวที่เอาผงแก้วผสมกาวหรือแป้งเปียกเป็นต้นทาเพื่อให้คม.

โคลง

หมายถึง[โคฺลง] ก. เอียงไปเอียงมาหรือทำให้เอียงไปเอียงมา เช่น เรือโคลง ว่าวโคลง โคลงเรือ โคลงหัว.

ก้นกบ

หมายถึงน. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.

กระเบื้องขนมเปียกปูน

หมายถึงน. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก.

ส่าย

หมายถึงก. แกว่งไปมา เช่น ส่ายผ้าอ้อมในน้ำ, ย้ายไปมา เช่น ส่ายหัว ส่ายสะโพก ว่าวส่าย. น. กระโปรงยาวที่ผู้หญิงนุ่ง.

ลูกปลา

หมายถึงน. กระดาษที่ทำเป็นชิ้นกลม ๆ เล็ก ๆ ปิดตามตัวว่าวเพื่อตรึงด้ายสักให้ติดกับกระดาษ.

อก

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียกเลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.

สักว่าว

หมายถึงก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็นตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น.

กินหน้า,กินหลัง,กินหาง

หมายถึงว. ลักษณาการของว่าวที่สายซุงบนสั้น เรียกว่า กินหน้า, ที่สายซุงบนยาว เรียกว่า กินหลัง, ที่เสียหางตัวเอง เรียกว่า กินหาง.

ตรมวล

หมายถึง[ตฺรม-วน] (โบ) น. ตำบล เช่น เขาแก้วว่าวงกาจล ตรมวลใดท้าวธบอก. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ