ค้นเจอ 47 รายการ

น้ำสาบาน

หมายถึงน. น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่นน้ำพระพุทธมนต์ น้ำเทพมนตร์ หรือสุราผสมเลือดที่ผู้ร่วมสาบานกรีดให้หยดลงแล้วดื่มประกอบกับคำปฏิญาณ เช่น พี่น้องร่วมน้ำสาบาน เพื่อนร่วมน้ำสาบาน.

สาธยาย

หมายถึง[สาทะยาย, สาดทะยาย] น. การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น สาธยายมนต์, (ปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักจบเสียที. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).

เสื่อม

หมายถึงก. น้อยลง, หย่อนลง, เช่น เครื่องจักรเมื่อใช้ไปนาน ๆ คุณภาพก็ค่อย ๆ เสื่อมไป, เสีย เช่น เสื่อมเกียรติ, ค่อย ๆ ลดลง เช่น ความจำเสื่อม, ต่ำกว่าระดับเดิม เช่น เมื่อความเจริญทางวัตถุมีมากขึ้น คุณธรรมของคนก็เสื่อมลง, ถอยความขลัง เช่น มนตร์เสื่อม.

โอม

หมายถึงน. คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามาใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. ก. กล่าวคำขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).

หม้อ

หมายถึงน. ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง, เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม, เรียกตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนตร์, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง.

เมฆฉาย

หมายถึง[เมก-] น. เงาเมฆ, เมฆที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่าง ๆ เนื่องจากการยกเมฆ เป็นนิมิตให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าร้ายหรือดี เช่น ภาวนาเขม้นเห็นเมฆฉาย นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี. (ขุนช้างขุนแผน); การอธิษฐานโดยบริกรรมด้วยมนตร์ เชื่อกันว่าจะทำให้เงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วพิจารณาดูว่าคนเจ็บนั้นเป็นโรคอะไร.

เวท

หมายถึง[เวด] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

เวท-

หมายถึง[เวทะ-] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

สังข,สังข-,สังข์

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สังข์รดน้ำ (Turbinella pyrum) เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำพระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร (Chalonia tritonis) เปลือกมีลาย ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, ลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ ๒ ขอน. (ป.; ส. ศงฺข).

ลง

หมายถึงก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.

ศิลปศาสตร์

หมายถึงน. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทางอาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ