ค้นเจอ 74 รายการ

พรหเมนทร์,พรหเมศวร

หมายถึง[พฺรมเมน, พฺรมเมสวน] น. พระพรหมผู้เป็นใหญ่. (ส.).

ธาดา

หมายถึงน. ผู้สร้าง, ผู้ทรงไว้, พระพรหมผู้สร้างตามหลักศาสนาพราหมณ์. (ป.).

แผน

หมายถึง(โบ; กลอน) น. เรียกพระพรหมว่า ขุนแผน เช่น ขุนแผนแรกเอาดินดูที่. (แช่งนํ้า).

ปรเมษฐ์

หมายถึง[ปะระเมด, ปอระเมด] น. ผู้สูงสุด คือ พระพรหม. (ส.).

พรหมลิขิต

หมายถึง[พฺรม-] น. อำนาจที่กำหนดความเป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่งเกิดได้ ๖ วัน). (ส.).

พรหมเรขา

หมายถึง[พฺรมมะ-] น. อำนาจที่กำหนดความเป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่งเกิดได้ ๖ วัน). (ส.).

กมลาสน์

หมายถึง[กะมะลาด] (แบบ) น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม. (ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).

พรหมวิหาร

หมายถึง[พฺรมมะ-, พฺรม-] น. ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).

ปัญจนที

หมายถึงน. แม่นํ้า ๕ สาย คือ ๑. คงคา ๒. ยมนา ๓. อจิรวดี ๔. สรภู ๕. มหี.

ลิขิต

หมายถึงน. หนังสือ, จดหมาย, (นิยมใช้เฉพาะจดหมายของพระสงฆ์). ก. เขียน, กำหนด, เช่น พระพรหมได้ลิขิตชีวิตไว้แล้ว. (ป., ส.).

ภวัคระ

หมายถึง[พะวักคฺระ] น. พรหมชั้นสูง, เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เรียก. (ส. ภวาคฺร; ป. ภวคฺค).

กัมลาศ

หมายถึง[กำมะลาด] (แบบ) น. กมลาสน์ คือ พระพรหม เช่น เพียงกัมลาศลงมาดิน. (ม. คำหลวง กุมาร). (ป., ส. กมลาสน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ