ค้นเจอ 2,437 รายการ

เข้าสมาธิ

หมายถึง[-สะมาทิ] ก. ทำจิตให้แน่วแน่อย่างเข้าฌาน.

ปราศรัย

หมายถึง[ปฺราไส] น. การพูดด้วยไมตรีจิต, การแสดงอัชฌาสัยในระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; คำปรารภ. ก. พูดด้วยไมตรีจิต, พูดแสดงอัชฌาสัยระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; ปรารภ. (ส. ปฺรศฺรย).

ประทุษฏจิต,ประทุษฐจิต

หมายถึง[ปฺระทุดตะจิด, ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.

ศมะ

หมายถึง[สะ-] น. ความสงบ, ความนิ่ง. (ส.; ป. สม).

สายตรวจ

หมายถึงน. เรียกผู้ตรวจผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยหรือความถูกระเบียบเป็นย่าน ๆ ไป เช่น สายตรวจสรรพสามิต ตำรวจสายตรวจ.

ผู้

หมายถึงน. คำใช้แทนบุคคล เช่น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หรือใช้แทนคำว่า คน เช่น ผู้นั้น ผู้นี้ ทุกผู้ทุกนาม หรือใช้แทนสิ่งที่ถือเสมือนคน เช่น ศาลเป็นผู้ตัดสิน; คำใช้ประกอบคำกริยาหรือประกอบคำวิเศษณ์ให้เป็นนามขึ้น เช่น ผู้กิน ผู้ดี. ว. คำบอกเพศ หมายความว่า ตัวผู้ เช่น ม้าผู้ วัวผู้. ส. ที่, ซึ่ง, เช่น บุคคลผู้กระทำความดีย่อมได้รับความสุข.

สันต์

หมายถึงว. เงียบ, สงบ, สงัด. (ป.; ส. ศานฺต).

กวนน้ำให้ขุ่น

หมายถึง(สำ) ก. ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา.

โมนะ

หมายถึงน. ความนิ่ง, ความสงบ. (ป.; ส. เมาน).

ตากสมอง

หมายถึงก. พักผ่อนเพื่อคลายความเคร่งเครียดโดยไปอยู่ในที่สงบหรือที่มีอากาศปลอดโปร่ง.

ผู้ตราส่ง,ผู้ส่ง

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลผู้ทำความตกลงกับผู้ขนส่งเพื่อให้ขนส่งของไป. (อ. consignor).

จิตตานุปัสสนา

หมายถึงน. การพิจารณาจิตเป็นอารมณ์เป็นข้อ ๑ ในสติปัฏฐาน ๔.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ