ค้นเจอ 42 รายการ

ดัด

หมายถึงก. ทำให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ดัดไม้ ดัดนิสัย; ทำให้เที่ยงตรง เช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา. (ตะเลงพ่าย); ปลุก เช่น เคยดัดฤดีตาตื่นตรับ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). ว. ที่ทำให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.

อนาจาร

หมายถึง[อะนาจาน] น. ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติน่าอับอาย; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น. ว. ลามก, น่าบัดสี, ทำให้เป็นที่อับอาย, เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่นในด้านความดีงาม. (ป., ส.).

อวด

หมายถึงก. สำแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นำออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่องต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.

ทุจริต

หมายถึง[ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริตในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).

เสียบ

หมายถึงก. แทงคาไว้ เช่น เอาไม้แหลมเสียบปลา เอามีดเสียบพุง, เอาของดันลงบนปลายสิ่งที่แหลม ๆ เช่น เอากระดาษเสียบบนที่เสียบกระดาษ, เหน็บ เช่น เอาจดหมายเสียบไว้ที่ประตู; ยืนตัวแข็งทื่อต่อหน้าผู้ใหญ่เป็นการแสดงกิริยาไม่อ่อนน้อม เรียกว่า ยืนเสียบ.

ต่อ

หมายถึงก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาวออกไป เช่น ต่อเชือก; ทำให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วนเช่นเรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทำให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนันโดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่ายเห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นำสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่า ในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ออกจะ, น่าจะ, ท่าจะ, เช่น มันต่อจะชอบกลเจ้ามณฑา. (สังข์ทอง); ถัดไป, สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นำไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อมเข้าด้วยกัน เช่น คำต่อ (คือ คำบุรพบทและคำสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออำเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้นักเรียน ครูเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ