ค้นเจอ 2,942 รายการ

กลด

หมายถึง[กฺลด] (โบ) น. ภาชนะใส่นํ้าเทพมนตร์ของพราหมณ์. (ดู กลศ).

น้ำ

หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.

คันโพง

หมายถึงน. เครื่องสำหรับตักนํ้าหรือโพงนํ้า มีคันยาว ที่ปลายมีเชือกผูกโพงเพื่อช่วยผ่อนแรง; คันไม้ยาวใช้ผูกโพงสำหรับตักน้ำหรือโพงน้ำ.

บอกหัว

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กะโหลกหัว.

ใส่ไข่

หมายถึง(สำ) อาการที่พูดขยายความให้เกินความจริง, ใส่สีสัน หรือ ใส่สีใส่สัน ก็ว่า.

ใส่หน้ากาก

หมายถึง(สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างใส่หน้ากากเข้าหากัน, สวมหน้ากาก ก็ว่า.

เลื่อมพราย

หมายถึงว. เป็นเงามันแพรวพราย.

น้ำเงี้ยว

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับผัดกับเครื่องแกงมีหอม กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง ถั่วเน่า เป็นต้น ต้มกับน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ เลือดหมู น้ำแกงมีรสเค็ม เผ็ดน้อย กินกับขนมจีน.

ใส่ไฟ

หมายถึงก. เติมเชื้อเพลิง เช่น คอยเอาฟืนใส่ไฟไว้นะ อย่าให้ไฟดับ; จุดไฟเผาศพ; โดยปริยายหมายถึงให้ร้ายผู้อื่นทำให้ได้รับความเสียหาย เช่น เขาใส่ไฟผม อย่าไปเชื่อ.

ว่าใส่หน้า

หมายถึงก. ต่อว่าหรือติเตียนซึ่ง ๆ หน้า.

ลมใส่

หมายถึง(ปาก) ว. อาการที่รู้สึกว่าจะเป็นลมเนื่องจากตกใจหรือผิดหวังเป็นต้น เช่น เห็นผลสอบแล้วลมใส่.

ระเมียร

หมายถึงก. ดู, น่าดู. (ข. รมึล ว่า ดู).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ