ค้นเจอ 45 รายการ

ชี

หมายถึงน. นักบวช เช่น ชีปะขาว; คำเรียกหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้วโกนผมถือศีล, แม่ชี ก็เรียก. (ส. ชี ใช้พูดต้นนามเป็นเครื่องหมายแห่งความยกย่อง).

พินทุ

หมายถึงน. หยาดเช่นหยาดนํ้า, จุด, จุดที่ใส่ไว้ใต้ตัวอักษร; ลายแต้มสีที่หน้าผากระหว่างคิ้ว; รูปวงเล็ก ๆ; รูปสระ ดังนี้ ิ; ชื่อสังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิกำลัง ๗ หรือเลขหนึ่งมีศูนย์ตามหลัง ๔๙ ตัว. (ป. พินฺทุ; ส. พินฺทุ, วฺฤนฺท, วินฺทุ).

บังใบ

หมายถึงน. ชื่อกบชนิดหนึ่งสำหรับไสคิ้วไม้; การเพลาะริมไม้ให้ลึกลงไปจากผิวเดิมด้วยการใช้กบบังใบไส แล้วนำมาประกอบเป็นวงกบหรือวงกรอบของประตูหน้าต่าง, วิธีเพลาะไม้ให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน ด้วยการใช้กบบังใบไสริมไม้ทั้ง ๒ แผ่นให้ลึกเท่า ๆ กัน แล้วนำมาประกบให้เป็นแผ่นเดียวกัน.

ทึดทือ

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Strigidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเค้า ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ (Ketupa zeylonensis) และ ทึดทือมลายู (K. ketupa).

สำอาง

หมายถึงน. เครื่องแป้งเครื่องหอม เรียกว่า เครื่องสำอาง, ปัจจุบันหมายถึง สิ่งเสริมแต่งหรือบำรุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม เป็นต้นให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องพระสำอาง. ว. ที่ทำให้งามสะอาดหมดจด, งามสะอาดหมดจด, งามกรีดกรายหยิบหย่ง เช่น เขาเป็นหนุ่มสำอางท่าทางกรีดกราย.

เครื่องสำอาง

หมายถึงน. สิ่งเสริมแต่งหรือบำรุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่องพระสำอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.

จตุรงคนายก

หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).

ผูก

หมายถึงก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทำให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่น ผูกเวร; ตรงข้ามกับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.

แหนบ

หมายถึง[แหฺนบ] น. เครื่องสำหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สำหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืนเป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่างแหนบ, เอานิ้วมือบีบทำนองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัดไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมายความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ