ค้นเจอ 2,565 รายการ

สม

หมายถึงใช้ประกอบกับคำกริยาบางคำมีความหมายว่า ร่วมด้วยกัน รวมกัน เช่น สมคิด สมรู้.

คำพ้องรูป

หมายถึงคำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.

สำราญ

หมายถึงก. สุขสบาย เช่น วันอาทิตย์จะนอนให้สำราญเลย. ว. ที่ทำให้มีความสุขสบาย เช่น เรือสำราญ. (ข. สํราล).

ชโย

หมายถึง[ชะ-] น. ความชนะ. (คำเดียวกับ ชัย). อ. คำที่เปล่งเสียงอวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.

กลิ่นอาย

หมายถึงน. กลิ่น. (เป็นคำที่มีความหมายซํ้า อาย ก็ว่า กลิ่น).

ไซร้

หมายถึง[ไซ้] ว. คำสำหรับเน้นความหมายของคำหน้า มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว.

กริยาวิเศษณ์

หมายถึง(ไว) น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.

จง

หมายถึงเป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือบอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ.

มือไม่ถึง

หมายถึงว. มีความสามารถยังไม่ถึงระดับ.

ขาดน้ำใจ

หมายถึงก. ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่.

ธรรม

หมายถึงคำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ