ค้นเจอ 47 รายการ

นฤพาน

หมายถึง[นะรึ-] น. ความดับกิเลสและกองทุกข์. (โบ) ก. ตาย (ใช้แก่พระมหากษัตริย์) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน. (พงศ. กรุงเก่า). (ส. นิรฺวาณ; ป. นิพฺพาน).

ดาบส

หมายถึง[-บด] น. ผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี. (ป., ส. ตาปส), เพศหญิงใช้ว่า ดาบสินี. (ป. ตาปสินี), ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).

สละ

หมายถึง[สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส.

ตัด

หมายถึงก. ทำให้ขาดด้วยของมีคม เช่น ตัดกระดาษ ตัดผ้า; ทอน เช่น ตัดเงินเดือน, ลัด เช่น เดินตัดทาง; ตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำให้เป็นสิ่งสำเร็จรูป เช่น ตัดเสื้อ ตัดรองเท้า; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตัดญาติ ตัดกิเลส.

ยั่ว

หมายถึง(โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคำ ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทำให้เกิดอารมณ์ในทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.

โอฆ,โอฆ-,โอฆะ

หมายถึง[โอคะ-] น. ห้วงนํ้า; ในพระพุทธศาสนาหมายถึงกิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์ มี ๔ อย่าง คือ ๑. กาโมฆะ = โอฆะ คือ กาม ๒. ภโวฆะ = โอฆะ คือ ภพ ๓. ทิฏโฐฆะ = โอฆะ คือ ทิฐิ ๔. อวิชโชฆะ = โอฆะ คือ อวิชชา. (ป., ส.).

ดับ

หมายถึงก. สูญสิ้นไป เช่น วิญญาณดับ อนาคตดับ, สิ้นแสง เช่น ไฟดับ เดือนดับ, ทำให้สิ้นแสง เช่น ดับไฟ, ทำให้สิ้น เช่น ดับกิเลส ดับทุกข์, ทำให้ระงับ เช่น ดับโทสะ ดับโมโห, หยุดหรือทำให้หยุด เช่น เครื่องดับ ดับเครื่อง; เรียกวันสิ้นเดือนตามจันทรคติว่า วันดับ.

นหาดก

หมายถึง[นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คำบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สำหรับเรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทำพิธีอาบนํ้า ซึ่งจำต้องกระทำเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสำนักอาจารย์ และตั้งต้นเป็นผู้ครองเรือน (คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอาท่านที่ชำระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).

ทศพิธราชธรรม

หมายถึงน. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.

ราชธรรม

หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).

ติด

หมายถึงก. อาการที่ข้องอยู่ เช่น ติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในกิเลส; ประดับ เช่น ติดเหรียญ ติดตรา เอาดอกไม้ติดผม; แนบอยู่ เช่น เนื้อติดมัน เนื้อติดกระดูก; ทำให้เกิดขัดอยู่หรือข้องอยู่จนไม่อาจให้เคลื่อนไปได้ เช่น ติดขบวนแห่ ติดไฟแดง ติดฝน; ชอบอย่างขาดไม่ได้ เช่น ติดบุหรี่ ติดฝิ่น; อาศัยไปด้วยหรือมาด้วย เช่น ติดรถไปด้วย; ผนึก เช่น ติดแสตมป์ ติดประกาศ ติดกาว; จุด เช่น ติดไฟ ติดตะเกียง ติดเตาฟู่; ต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เช่น ห้องติดกัน; ได้รับเชื้อโรค เช่น ติดหิด; คงอยู่หรือทำให้คงอยู่ เช่น สีติดเสื้อ เสื้อติดสี; ไม่ร่วง, ไม่หลุด, (ใช้แก่ผลไม้) เช่น มะม่วงปีนี้ติดมาก; อยู่ในที่คุมขัง เช่น ติดคุก ติดตะราง; กักบริเวณ เช่น ติดสนม; คล้าย, ใกล้ข้าง, เช่น หน้าตาติดไปทางพ่อ; (ปาก) มีหนี้สินติดค้างกันอยู่ เช่น ติดเงิน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ