ค้นเจอ 62 รายการ

กรรบูร

หมายถึง[กันบูน] (แบบ) น. การบูร เช่น กฤษณากระวานการ- บูรกูรกระเหนียดกรร- บูรแกมกำคูนคันธ์ รสจวงกำจรมา. (สมุทรโฆษ).

จริว

หมายถึง[จะ-] น. เต่า; ตะพาบนํ้า; เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์ (สมุทรโฆษ); กริว หรือ ตริว ก็ว่า.

สุ้มเสียง

หมายถึงน. กระแสเสียง, (โบ) เขียนเป็น ซุ่มเสียง ก็มี เช่น จึงตั้งนะโม ซุ่มเสียงใหญ่โต. (ประถม ก กา).

ตำเนิน

หมายถึงว. ห่ามจวนสุก เช่น กล้วยตำเนิน, แก่ยังไม่จัด เช่น แตงโมตำเนิน ทุเรียนตำเนิน, ดำเนิน ก็ว่า.

กระแสง

หมายถึงน. เสียง, เสียงแจ่มจ้า เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส. (ประถม ก กา).

โมฆ,โมฆ-,โมฆะ

หมายถึง[โมคะ-] ว. เปล่า, ว่าง; ไม่มีประโยชน์, ไม่มีผล, เช่น สัญญาเป็นโมฆะ; (กฎ) เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย. (ป., ส.).

ซีก

หมายถึงน. ส่วนที่ผ่าครึ่ง, ส่วนของสิ่งบางอย่างเช่นไม้ไผ่หรือแตงโมที่ผ่าออกโดยปรกติตามยาว, โดยปริยายหมายความว่า ด้าน, ส่วน, เช่น ร่างกายตายไปซีกหนึ่ง ปลาทูซีกนี้; ลักษณนามเรียกส่วนที่แยกออกนั้น เช่น มะม่วงซีกหนึ่ง แตงโม ๒ ซีก; ใช้สำหรับมาตราเงินโบราณเท่ากับ ของเฟื้อง.

สัมโมทนียกถา

หมายถึง[สำโมทะนียะกะถา] น. ถ้อยคำที่แสดงความชื่นชมยินดี เป็นที่ชุ่มชื่นใจแก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน. (ป., ส.).

เรื้อ

หมายถึงก. ขาดการฝึกฝนเสียนาน เช่น ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสมานานเลยเรื้อไป, ห่างไปนาน เช่น เรื้อเวที เรื้อสังเวียน. น. เรียกข้าวเปลือกที่ตกอยู่แล้วงอกขึ้นจนออกรวงอีกว่า ข้าวเรื้อ, บางทีก็เรียกว่า ข้าวเรื้อร้าง, ใช้เรียกพืชผลบางชนิดที่เกิดขึ้นในทำนองนี้ เช่น แตงโม ว่า แตงโมเรื้อ.

กรรกศ

หมายถึง[กันกด] (แบบ) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนีฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).

จบ

หมายถึงน. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน.

เสี้ยว

หมายถึงน. ส่วน ๑ ใน ๔ เช่น เขาผ่าแตงโมออกเป็น ๔ เสี้ยว, ส่วนย่อย เช่น เขาผ่าฟักทองเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ. ว. เฉ, ไม่ตรง, เช่น เธอตัดผ้าเสี้ยว.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ