ค้นเจอ 127 รายการ

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

คำฟ้อง

หมายถึง(กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.

คำร้องทุกข์

หมายถึง(กฎ) น. คำกล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทำความผิด ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.

คำสกรรถ

หมายถึงดู สกรรถ.

คำสุภาพ

หมายถึง(ฉันทลักษณ์) น. คำที่ไม่ผันด้วยวรรณยุกต์ทั้ง ๔.

เครื่องหมายคำถาม

หมายถึงน. ปรัศนี.

ฉีกคำ

หมายถึงก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์.

ต่อปากต่อคำ

หมายถึงก. เฝ้าเถียงกันไม่รู้จักจบ, พูดยันกันเพื่อพิสูจน์ความ.

ขอคำน้อย

หมายถึงน. ว่านขอทอง.

คำขึ้นต้น

หมายถึงน. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับแต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับร้อยกรองบางประเภท เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.

คำคม

หมายถึงน. ถ้อยคำที่หลักแหลมชวนให้คิด.

คำคู่ความ

หมายถึง(กฎ) น. บรรดาคำฟ้อง คำให้การหรือคำร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ