ค้นเจอ 6,014 รายการ

พฤทธิ์

หมายถึง[พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลีและสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทำสระให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).

มุจลินท์

หมายถึง[มุดจะ-] น. ต้นจิก; ชื่อสระใหญ่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งขอบสระประกอบด้วยต้นจิก. (ป.; ส. มุจิลินฺท).

ลดรูป

หมายถึงก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียงสระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.

บังคับลหุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.

ชลาศัย

หมายถึงน. บ่อ, สระ, ทะเล; ปลา. (ส.; ป. ชลาสย).

สมีปะ

หมายถึง[สะมี-] (แบบ) ว. ใกล้ เช่น สมีปสร้อยสระศรี. (สมุทรโฆษ). (ป.).

สัญชาต,สัญชาต-

หมายถึง[-ชาตะ-, -ชาดตะ-] ว. เกิดเอง เช่น สัญชาตสระ ว่า สระที่เกิดเอง. (ป.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.

รับใช้ชาติ,รับใช้ประเทศชาติ

หมายถึงก. ทำหน้าที่สนองคุณบ้านเมืองในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศ.

ฉัททันต์

หมายถึง(แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก); ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).

อรรธสระ

หมายถึง[อัดทะสะหฺระ] น. เสียงกึ่งสระกึ่งพยัญชนะ.

อุทบาน

หมายถึง[-บาน] น. บ่อนํ้า, สระน้ำ. (ป., ส. อุท + ปาน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ