ค้นเจอ 146 รายการ

ประเภท

หมายถึง[ปฺระเพด] น. ส่วนที่แบ่งย่อยออกไปเป็นพวก จำพวก ชนิด หมู่ เหล่า อย่าง แผนก เป็นต้น. (ส. ปฺรเภท; ป. ปเภท).

อนันตริยกรรม

หมายถึง[-ตะริยะกำ] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).

อนุสัย

หมายถึงน. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).

อรรถปฏิสัมภิทา

หมายถึง[อัดถะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).

อัฐบริขาร

หมายถึงน. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. อฏฺปริขาร).

อาการ,อาการ-

หมายถึง[อากาน, อาการะ-] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).

กรรมบถ

หมายถึง[กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง ตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ. (ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).

ขง

หมายถึง(โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (“กรุง” เป็น “ขุง” และเป็น “ขง” อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).

ฉัน

หมายถึงว. เสมอเหมือน, เช่น, อย่าง, เช่น ฉันญาติ.

ชนิด

หมายถึง[ชะ-] น. อย่าง เช่น มี ๒ ชนิด, จำพวก เช่น คนชนิดนี้.

ตรีทุรวสา

หมายถึงน. ของแก้มันเหลวเสีย ๓ อย่าง คือ เมล็ดโหระพา ผลกระวาน ผลราชดัด.

ตรีธารทิพย์

หมายถึงน. ของทิพย์ที่ทน ๓ อย่าง คือ รากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ รากมะขามเทศ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ