ตัวกรองผลการค้นหา
ธรรมกถา
หมายถึงน. การกล่าวธรรม, ถ้อยคำที่เป็นธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกถา).
ปฏิปุจฉาพยากรณ์
หมายถึงน. การจำแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมด้วยวิธีย้อนถาม. (ป.).
อวิโรธนะ
หมายถึง[อะวิโรทะนะ] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).
ธรรมราชา
หมายถึงน. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม.
สติปัฏฐาน
หมายถึงน. ชื่อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม. (ป.).
อวิโรธน์
หมายถึง[อะวิโรด] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).
เทวธรรม
หมายถึงน. ธรรมสำหรับเทวดา, ธรรมสำหรับทำบุคคลให้เป็นเทวดา คือ หิริ และ โอตตัปปะ.
ธรรมานุสาร
หมายถึง[ทำมา-] น. ความถูกตามธรรม, ทางหรือวิธีแห่งความยุติธรรม, ความระลึกตามธรรม. (ส.; ป. ธมฺมานุสาร).
ปฏิปุจฉาวาที
หมายถึงน. ผู้จำแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมด้วยวิธีย้อนถาม. (ป.).
น้อยใจ,น้อยเนื้อต่ำใจ,น้อยอกน้อยใจ
หมายถึงก. รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นต้น.
ธรรมสากัจฉา
หมายถึงน. การสนทนาธรรม. (ป. ธมฺมสากจฺฉา).
สหธรรม
หมายถึงน. ธรรมอันเดียวกัน, กฎหรือความเชื่อถืออย่างเดียวกัน.