ค้นเจอ 2,022 รายการ

นิยม

หมายถึง(แบบ) น. การกำหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคำสมาสบางคำมีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.

การ,-การ,-การ

หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

บาล

หมายถึง(แบบ) ก. เลี้ยง, รักษา, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).

ษัฑ

หมายถึงว. หก. (ใช้ในคำสมาส เมื่อนำหน้าพยัญชนะพวกโฆษะ เว้นจาก ณ ม ย). (ส.; ป. ฉ).

ย่ะ

หมายถึงว. คำรับ (ถือเป็นคำไม่สุภาพ).

ปฤจฉาคุณศัพท์

หมายถึง(ไว) น. คำคุณศัพท์ที่เป็นคำถาม เช่นคำ “อะไร” ฯลฯ.

รับสัมผัส

หมายถึงก. เรียกคำใดคำหนึ่งของวรรคหลังแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำส่งสัมผัสในวรรคหน้าว่า คำรับสัมผัส.

สัตถุ

หมายถึงน. ครู, ผู้สอน, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส. (ป.).

ยง

หมายถึงว. อร่ามเรือง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น โฉมยง ยุพยง.

ถ้อยคำ

หมายถึงน. คำที่กล่าว.

หน่วยคำ

หมายถึงน. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำอิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และหน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).

คำขึ้นต้น

หมายถึงน. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับแต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับร้อยกรองบางประเภท เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ