ค้นเจอ 37 รายการ

ฉาตกภัย

หมายถึง[ฉาตะกะไพ] น. ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง, ภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง. (ป. ฉาต, ฉาตก, ว่า หิว, อิดโรยเพราะการอดอาหาร).

ถ่านไฟแช็ก

หมายถึงน. โลหะเจือประเภทไพโรฟอริก เช่น โลหะซีเรียมผสมเหล็ก เป็นสารแข็ง ลักษณะเป็นแท่งกลมสั้น เมื่อครูดกับจักรโลหะจะเกิดประกายไฟ.

ลูกคลัก

หมายถึงน. ท่อนไม้สั้น ๆ เอาเชือกผูกกลางสำหรับขัดแร้วเป็นต้น หรือใส่ในโอ่งในไหแล้วเอาเชือกผูกกับไม้คานหามไป.

ภาชนะ

หมายถึง[พาชะนะ, พาดชะนะ] น. เครื่องใช้จำพวกถ้วยโถโอชามหม้อไหเป็นต้น สำหรับใส่สิ่งของ. (ป., ส.).

กล่ำ

หมายถึง[กฺลํ่า] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กลํ่า คือ อัฐ, ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. (กลํ่า ได้แก่ มะกลํ่าตาช้าง, กล่อม ได้แก่ มะกลํ่าตาหนู).

ไพศาขมาส

หมายถึง[ไพสาขะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์วิศาขะ คือ เดือน ๖ ตกในราวเดือนพฤษภาคม. (ส.; ป. วิสาขมาส).

กร้อ

หมายถึงน. เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ เช่น ส่วนตัวมึงคือกร้อ แต่งไว้วิดเรือ. (โคลงกวี), สามัญเรียกว่า ตะกร้อ. (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห).

ไหปลาร้า

หมายถึงน. ชื่อไหชนิดหนึ่ง มีขอบรอบปากสำหรับหล่อนํ้าและมีฝาปิด ใช้หมักปลาร้า, หลุมข้างคอถัดกระดูกไหปลาร้าขึ้นไป, เรียกกระดูกทั้งคู่ที่อยู่ต้นคอข้างหน้าว่า กระดูกไหปลาร้า.

ผนึก

หมายถึง[ผะหฺนึก] ก. ติดให้แน่น เช่น ผนึกซอง ผนึกตรา, อัดให้แน่นเป็นปึก เช่น ผนึกกระดาษหลาย ๆ แผ่นให้เป็นปึกเดียวกัน, ปิดให้แน่น เช่น ผนึกไห, รวมกันให้เป็นปึกแผ่น เช่น ผนึกกำลัง. น. การนำช้างเล็กไปโดยใช้ช้างใหญ่ขนาบไป; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสำหรับสอดใส่สิ่งของ.

ตีนกา,ตีนกา,ตีนครุ

หมายถึง[-คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สำหรับบอกจำนวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตำลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจำนวนตำลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตำลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.

ปาก

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะเป็นช่องสำหรับกินอาหารและใช้สำหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดยปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสำหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่งบางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.

ซอง

หมายถึงน. ซอกหรือช่องแคบ เช่น ซองหัวเรือท้ายเรือ เรียกว่า ซองเรือ; ซอกหรือช่องแคบที่ทำขึ้นสำหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้ในที่บังคับ; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสำหรับสอดใส่สิ่งของ เช่น ซองธูป ซองพลู ซองจดหมาย ซองบุหรี่, ลักษณนามเรียกว่า ซอง เช่น ธูปซองหนึ่ง บุหรี่ ๒ ซอง; หน่วยของปริมาณของแท่งน้ำแข็งก้อนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น ๔ กั๊ก; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายกระบอกแต่มีปากบานกว้าง มีงาแซงใส่ ก้นมีฝาทำด้วยไม้ไผ่เจาะรูปิด; เรียกไหชนิดหนึ่ง รูปร่างสูง ๆ ปากเล็กแคบ สำหรับใส่หัวผักกาดเค็มเป็นต้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ