ค้นเจอ 52 รายการ

นาค,นาค,นาคา,นาคา

หมายถึง[นาก] น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค.

ข้าวยำ

หมายถึงน. อาหารชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ ใช้ข้าวสุกคลุกกับเครื่องปรุง มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว นํ้าเคยหรือนํ้าบูดู ส้มโอ และผักต่าง ๆ หั่นละเอียด เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วฝักยาว.

ทราบฝ่าละอองพระบาท

หมายถึง(ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลสมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี).

ใต้ฝ่าละอองพระบาท

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับพระอัครมเหสีที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีลงมาจนถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระบรมราชกุมารี, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

วันเฉลิมพระชนมพรรษา

หมายถึงน. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช.

อุปปาติกะ

หมายถึง[อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).

อัตตโนบท

หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.

นามาภิไธย

หมายถึงน. ชื่อ (ใช้เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนามาภิไธย เช่น ทรงลงพระนามาภิไธย.

เสด็จพระราชดำเนิน

หมายถึงก. ไป (ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี) เช่น เสด็จพระราชดำเนินโดยทางลาดพระบาท เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง.

จัน

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Diospyros decandra Lour. ในวงศ์ Ebenaceae ผลสุกสีเหลือง หอม กินได้, ชนิดลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียก ลูกจันอิน, ชนิดลูกกลมรี มีเมล็ด เรียก ลูกจันโอ.

โอฆ,โอฆ-,โอฆะ

หมายถึง[โอคะ-] น. ห้วงนํ้า; ในพระพุทธศาสนาหมายถึงกิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์ มี ๔ อย่าง คือ ๑. กาโมฆะ = โอฆะ คือ กาม ๒. ภโวฆะ = โอฆะ คือ ภพ ๓. ทิฏโฐฆะ = โอฆะ คือ ทิฐิ ๔. อวิชโชฆะ = โอฆะ คือ อวิชชา. (ป., ส.).

ปรัสสบท

หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ