ค้นเจอ 36 รายการ

ยกบัตร

หมายถึง[ยกกะบัด] (โบ) น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกกระบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก, เขียนเป็น ยกบัตร์ ก็มี.

โขลน

หมายถึง[โขฺลน] (โบ) น. ชื่อกรมซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นใน, เจ้าพนักงานหญิงในกรมโขลน มีหน้าที่คล้ายตำรวจ; ตำแหน่งราชการฝ่ายทหาร. (จารึกสยาม).

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตำแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สิน และจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.

ของกลาง

หมายถึงน. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทำความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิด หรือที่สงสัยว่าเป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญา.

ศาลภาษีอากร

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.

อัยการ

หมายถึง[ไอยะ-] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงานอัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.

ยกกระบัตร

หมายถึง(โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียนเป็น ยุกกระบัตร ก็มี.

ปรับ

หมายถึง[ปฺรับ] ก. เปรียบ, เทียบ; ทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะหรือดีขึ้น, ทำให้เรียบ, ทำให้เสมอ; ลงโทษให้ใช้เงินเพราะทำผิด, ลงโทษให้เป็นแพ้; (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ต้องโทษต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล หรือตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เรียกว่า โทษปรับ.

ข่มขืนใจ

หมายถึง(กฎ) ก. บังคับให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ โดยไม่สมัครใจแต่จำต้องฝืนใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๓๙.

นำร่อง

หมายถึงก. นำเรือกำปั่นหรือเรือใหญ่และกินนํ้าลึก เช่นเรือสินค้า เข้าหรือออกจากท่าเรือตามร่องน้ำในระยะซึ่งอาจมีอันตรายแก่การเดินเรือ, เรียกเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่เช่นนั้นว่า พนักงานนำร่อง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นำร่อง, เรียกเรือเล็กที่ใช้ในการนำร่องว่า เรือนำร่อง; โดยปริยายหมายถึงการริเริ่มหรือทดลองทำไปก่อน เช่น โครงการนำร่อง.

หมาย

หมายถึงน. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคำสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงานสั่งให้กระทำการ หรือห้ามกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกำหนด เช่น หมายหัวกระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.

จับ

หมายถึงก. อาการที่ใช้มือแตะต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกำไว้ยึดไว้; เกาะ เช่น นกจับคอน; ติด เช่น เขม่าจับก้นหม้อ; กินหรือกลืน ในความว่า คราสจับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์; เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป; เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า; กิริยาที่ทำขนมจีนให้เป็นหัว ๆ เรียกว่า จับขนมจีน, ลักษณนามของขนมจีนว่า จับ หรือ หัว เช่น ขนมจีน ๕ จับ หรือ ขนมจีน ๕ หัว.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ