ค้นเจอ 60 รายการ

อุทาหรณ์

หมายถึง[-หอน] น. ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็น, สิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมาเทียบเคียงเป็นตัวอย่าง. (ป., ส.).

อุลปนะ

หมายถึง[อุนละปะ-] น. การกล่าวอ้าง, การเรียกร้อง. (ป. อุลฺลปน).

ลากหนามจุกช่อง

หมายถึง(สำ) ก. ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างป้องกันตัว, ขัดขวางไม่ให้คนอื่นได้รับประโยชน์ในเมื่อตนเองไม่ได้รับประโยชน์ด้วย.

ถามติง

หมายถึง(กฎ) ก. การที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานซักถามพยานอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยานเสร็จแล้ว.

ยืมชื่อ

หมายถึงก. อาศัยชื่อผู้อื่นไปเป็นประโยชน์ตน เช่น ยืมชื่อคนมีชื่อเสียงไปอ้างเพื่อให้คนเชื่อถือ.

ถามค้าน

หมายถึง(กฎ) ก. การที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซักถามพยาน เมื่อคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานได้ซักถามพยานเสร็จแล้ว, ซักค้าน ก็ใช้.

อมพระมาพูด

หมายถึง(สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ.

บังหน้า

หมายถึงก. นำชื่อบุคคลเป็นต้นมาอ้างเพื่อประโยชน์ตนโดยเจตนาให้ผู้อื่นหลงผิด; ทำกิจการอย่างหนึ่งเพื่ออำพรางกิจการอีกอย่างหนึ่ง.

กฎหมายปิดปาก

หมายถึง(กฎ) น. หลักกฎหมายที่ไม่ยอมให้อ้างหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามพฤติการณ์ ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม. (อ. estoppel).

สัตยาบัน

หมายถึงน. (กฎ) การยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้กระทำขึ้นไว้; การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะอันเป็นผลให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก; (กลอน) การอ้างความสัตย์. (ส. สตฺย + อาปนฺน).

ผิดนัด

หมายถึงก. ไม่ไปตามนัด, ไปไม่ตรงตามเวลาที่นัดไว้; (กฎ) การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา หรือการที่เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้.

ทัฬหิกรณ์

หมายถึง[ทันหิกอน] น. เครื่องทำให้มั่น ได้แก่ข้อความที่ชักมาอ้างเพื่อให้คำพูดของตนมั่นคง. (ป. ทฬฺหีกรณ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ